1. วันลาแบบขั้นบันได (Accrual Leave)
หากเปิดใช้งานการตั้งค่านี้ คุณจะสามารถกำหนดสิทธิ์วันลาสูงสุดได้แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับจำนวนปีทำงานของพนักงาน
ตัวอย่าง:
สมมติว่าพนักงานคนนี้ได้รับสิทธิ์ลาพักร้อน 7 วันในปีแรก (หลังปรับเป็นพนักงานประจำ), 14 วันในปีที่ 2 (>24 เดือน), 20 วันในปีที่ 5 (>60 เดือน) ตามลำดับ
การตั้งค่าใน HReasily จะเป็นไปตามนี้:


2. วันลาตามสัดส่วน (Earned Leave)
สำหรับตัวเลือกนี้ การได้รับสิทธิ์วันลาจะถูกคำนวณจากสูตรดังต่อไปนี้:
(จำนวนเดือนที่ทำงาน / 12 เดือน) x สิทธิ์ในการลา
หมายเหตุ: หากพนักงานเข้าทำงานช่วงกลางปี วันลาจะถูกคำนวณจากวันที่เข้าทำงาน หากตั้งค่าช่วงเวลาเริ่มนับวันลาของปีไว้ การลาก็จะถูกคำนวณจากการตั้งค่านี้ในปีถัดไป
ข้อกำหนดเบื้องต้น:
เพื่อเปิดใช้งาน วันลาตามสัดส่วน คุณจำเป็นต้องเปิดใช้งานอันใดอันหนึ่งดังนี้:
วันลาแบบขั้นบันได
ช่วงเวลาเริ่มนับการใช้วันลาของปี

3. อนุญาตให้ยกยอดวันลาไปปีถัดไป
หรือที่เรียกกันว่า ทบวันลา ตามชื่อหัวข้อ การตั้งค่านี้อนุญาตให้ยกยอดวันลาที่ไม่ได้ใช้ในปีนี้ไปปีหน้าได้
ตัวอย่าง:
บริษัท A อนุญาตให้พนักงานทบยอดวันลาพักร้อนสูงสุด 5 วันไปปีถัดไป แต่จำเป็นต้องใช้ก่อนวันสุดท้ายของไตรมาสแรก (31 มีนาคม) การตั้งค่าจะเป็นดังต่อไปนี้:
กำหนดวันหมดอายุวันหยุดที่ทบยอดมา [ไม่จำเป็น]
การตั้งค่านี้อนุญาตให้คุณกำหนดวันที่วันหยุดที่ทบยอดมาหมดอายุ หากไม่ได้กำหนดการตั้งค่านี้ วันหยุดที่ทบยอดมาจะสามารถนำมาใช้ได้ตลอดปี
แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด:
อนุญาตให้ทบยอดวันหยุดหากวันลาเป็นแบบลดหลั่นตามสัดส่วน เพื่อที่จะได้มั่นใจว่าพนักงานมีวันลามากเพียงพอสำหรับเดือนแรกๆ ที่มีเทศกาลสำคัญ เช่น วันตรุษจีน
กำหนดวันหมดอายุของวันหยุดที่ทบมาภายในไตรมาสแรกเพื่อลดความเป็นไปได้ในการที่พนักงานจะใช้วันลาจำนวนมากในการขอลาหยุดยาวที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานปกติได้

4. กำหนดวันเริ่มนับการใช้วันลาของปี
หากเปิดการใช้งาน วันลาจะถูกเริ่มนับใหม่ตามวันที่ได้กำหนดไว้ในการตั้งค่านี้
หากไม่ได้เปิดการใช้งาน วันลาจะถูกเริ่มนับใหม่ตามวันที่พนักงานเข้าทำงาน
แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด:
ช่วงเวลาเริ่มนับการใช้วันลาของปีไม่จำเป็นต้องตามปีงบประมาณของบริษัท พนักงานจะสามารถวางแผนวันหยุดได้ง่ายกว่าหากเลือกใช้ตามปีปฏิทิน

5. ลาแบบไม่รับค่าจ้าง
หากเปิดใช้งาน วันลาที่พนักงานใช้ไปจะสามารถนำมาแทรกไว้ในบัญชีเงินเดือนได้อย่างง่ายดาย
วันลาแบบไม่รับค่าจ้างจะถูกคำนวณด้วยสูตรใดสูตรหนึ่งตามด้านล่างนี้:
(ฐานเงินเดือน / จำนวนวันทำงานจริงในเดือนนั้น) * จำนวนวันลาแบบไม่รับค่าจ้างที่ใช้ไป
(ฐานเงินเดือน / จำนวนวันในเดือนนั้นตามปฏิทิน) * จำนวนวันลาแบบไม่รับค่าจ้างที่ใช้ไป

6. วันลาขั้นต่ำที่ต้องใช้ (Minimum Leave Taken)
บังคับให้พนักงานใช้วันลาขั้นต่ำ X วัน เมื่อขอวันลาหยุดประเภทนั้นๆ

7. จำนวนวันขั้นต่ำในการแจ้งล่วงหน้า (Minimum Days Notice)
บังคับให้พนักงานขอวันลาหยุด X วันล่วงหน้าก่อนวันลาจริง ไม่เช่นนั้นจะมีการแจ้งเตือนเด้งขึ้นมาตามด้านล่างนี้: