Skip to main content
All Collectionsคู่มือสำหรับผู้ค้าออนไลน์ Shopee/Lazada การ Import ข้อมูลจาก Shopee / Lazada เพื่อสร้างเอกสาร
วิธีการตรวจสอบการนำเข้าไฟล์ Shopee Lazada และ TikTok Shop ไม่สำเร็จ (AD001)
วิธีการตรวจสอบการนำเข้าไฟล์ Shopee Lazada และ TikTok Shop ไม่สำเร็จ (AD001)

How to Verify Failed Imports of Shopee or Lazada Files (AD001)

Rat Kanyarat avatar
Written by Rat Kanyarat
Updated over 4 months ago

เมื่อมีการ Import ไฟล์ Shopee Lazada และ TikTok Shop แล้ว พบว่า Import ไม่ผ่าน ตรวจสอบข้อมูลได้ดังนี้

ผู้ติดต่อ

ต้องระบุข้อมูล : สามารถเพิ่มฐานผู้ติดต่อได้ตามคู่มือ เพิ่มผู้ติดต่อ


ตัวอย่างการเพิ่มผู้ติดต่อ อาจจะใช้คำว่า “ลูกค้า Shopee” หรือ “ลูกค้า Lazada” ตามชื่อแพลตฟอร์มที่นำเข้าข้อมูล

รับเงินโดย

วันที่ออกเอกสาร

Shopee : เลือกได้ 3 แบบ คือ วันที่คำสั่งซื้อ, วันที่ชำระเงิน และวันที่ส่งสินค้า

ตัวอย่างข้อมูลวันที่ของ Shopee

  • วันที่คำสั่งซื้อ

  • วันที่ชำระเงิน

  • วันที่ส่งสินค้า

Lazada : เลือกได้ 2 แบบ คือ วันที่คำสั่งซื้อ และวันที่ส่งสินค้า

ตัวอย่างข้อมูลวันที่ของ Lazada

  • วันที่ซื้อสินค้า

  • วันที่ส่งสินค้า


TikTok Shop : เลือกได้ 3 แบบ คือ วันที่คำสั่งซื้อ, วันที่ชำระเงิน และวันที่ส่งสินค้า

ตัวอย่างข้อมูลวันที่ของ TikTok Shop

  • วันที่คำสั่งซื้อ

  • วันที่ชำระเงิน

  • วันที่ส่งสินค้า

หากเลือกรูปแบบวันที่แล้ว ในไฟล์นำเข้า ทุกออเดอร์ต้องมีวันที่แสดงครบถ้วนตามแบบที่เลือก เช่น หาก นำเข้า Shopee และเลือกรูปแบบเป็น วันที่คำสั่งซื้อ เป็นวันที่ออกเอกสาร หมายความว่า ในไฟล์ที่นำเข้าทุกออเดอร์จะต้องมีวันที่คำสั่งซื้อแสดงข้อมูลในไฟล์

อ้างอิงรหัสสินค้าจาก

ระบบจะอ้างอิงช่องสินค้าตามรหัสสินค้าที่เลือก แนะนำสำหรับกิจการที่หนึ่งสินค้ามีรหัสควบคุมมากกว่าหนึ่งรหัส เช่นของ PEAK เป็นรหัส P00001 ส่วนใน Lazada เป็นรหัส SKU-001 เป็นต้น สามารถเปิดตั้งค่ารหัสเพิ่มเติมได้โดยเข้าที่ ตั้งค่า ตามคู่มือ การตั้งค่าเมนูสินค้า/บริการ


ตัวอย่างข้อมูลของแต่ละแพลตฟอร์ม
Shopee

เลือกเลขที่สินค้า

หมายถึงว่า เลขที่สินค้า (รหัสสินค้าPEAK) ต้องตรงกับ เลขอ้างอิง SKU (SKU Reference No.) ในไฟล์นำเข้า Shopee

เลือก SKU Shopee

หมายถึงว่า เลขที่ SKU Shopee ในสินค้า PEAK ต้องตรงกับ เลขอ้างอิง SKU (SKU Reference No.) ในไฟล์นำเข้า


Lazada

เลือกเลขที่สินค้า

หมายถึงว่า เลขที่สินค้า (รหัสสินค้าPEAK) ต้องตรงกับ sellerSku ในไฟล์นำเข้า Lazada

เลือก SKU Lazada

หมายถึงว่า เลขที่ SKU Lazada ในสินค้า PEAK ต้องตรงกับ เลข sellerSku ในไฟล์นำเข้า Lazada


TikTok Shop

เลือกเลขที่สินค้า

หมายถึงว่า เลขที่สินค้า (รหัสสินค้าPEAK) ต้องตรงกับ sellerSKU ในไฟล์นำเข้า Tiktok Shop

เลือก SKU TikTok Shop

หมายถึงว่า เลขที่ SKU TikTok Shop ในสินค้า PEAK ต้องตรงกับ sellerSKU ในไฟล์นำเข้า TikTok Shop

หากรูปแบบที่เลือกและข้อมูลในการนำเข้าไม่ตรงกันระบบจะแสดงข้อมูลแจ้งเตือนตามรูปแนบ

เนื่องจากระบบจะไม่สามารถระบุผังบัญชีและเลือกรหัสสินค้ามารับรู้รายได้หรือตัดสต๊อกสินค้าให้ได้ ซึ่งอาจมีผลทำให้การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันผิดพลาด ผู้ใช้งานจะต้องดำเนินการสร้างฐานข้อมูลสินค้าลงในระบบ PEAK ก่อน

ตัวอย่างเอกสารที่ไม่ระบุสินค้า

ตัวอย่างการบันทึกบัญชี

เลขที่เอกสาร

เป็นการกำหนดเลขที่ของเอกสารที่สร้าง โดยเลือกได้ว่าจะใช้เลขที่คำสั่งซื้อ หรือ ใช้เลขที่ตามการตั้งค่าใน PEAK

หากเลือกใช้เลขที่คำสั่งซื้อ ในไฟล์ที่นำเข้าจะต้องมีเลขที่คำสั่งซื้อทุกรายการ

บันทึกค่าขนส่งเป็นรายได้

ถ้าเลือกระบบจะนำค่าขนส่งในไฟล์นำเข้ามาคำนวณและเพิ่มเป็นรายได้อีกหนึ่งรายการ

หากกิจการต้องการรับรู้รายได้ค่าขนส่ง จำเป็นต้องติ๊ก บันทึกค่าขนส่งเป็นรายได้ ซึ่งหากยังไม่ได้มีการเพิ่มบริการค่าขนส่งนี้ สามารถเพิ่มได้ตามคู่มือ การเพิ่มฐานข้อมูลบริการ

ข้อจำกัดรายการ

ไฟล์ที่นำเข้ารองรับสูงสุดได้ไม่เกิน 5,000 รายการต่อครั้ง หากมีการติ๊กค่าขนส่งเป็นรายได้ระบบจะนับเป็น 2 รายการ ดังนั้นไฟล์ที่ Import จะต้องมีข้อมูลไม่เกิน 2,500 รายการ

ระบบแจ้งเตือนประเภทไฟล์ไม่ถูกต้อง

หากระบบแสดงประเภทไฟล์ไม่ถูกต้อง ให้ตรวจสอบจำนวนคอลัมน์ในไฟล์ว่ามีจำนวนคอลัมน์ตามรูปแบบที่ระบบรองรับหรือไม่

ตัวอย่างฟอร์ม Shopee

ตัวอย่างฟอร์ม Lazada

ตัวอย่างฟอร์ม TikTok Shop รองรับ 3 รูปแบบดังนี้

ตัวอย่างเอกสารที่บันทึกรายการถูกต้อง

ตัวอย่างการบันทึกบัญชี

-จบวิธีการตรวจสอบการนำเข้าไฟล์ Shopee Lazada และ TikTok Shop ไม่สำเร็จ-

คู่มืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการตรวจสอบการนำเข้าไฟล์ Shopee Lazada และTikTok Shop ไม่สำเร็จ

Did this answer your question?