Skip to main content
All Collectionsอื่น ๆ การประยุกต์การใช้งาน
การบันทึกสินค้าฝากขาย (AA005)
การบันทึกสินค้าฝากขาย (AA005)

Consignment goods (AA005)

Updated over 2 years ago

กรณีที่เรานำสินค้าไปฝากร้านค้า เพื่อจำหน่าย

วิธีการบันทึกสินค้าฝากขาย มีขั้นตอนการประยุกต์ใช้งานดังนี้

ตัวอย่าง นำสินค้า B ไปฝากขายที่ร้านค้าจำนวน 100.00 หน่วย

หน่วยละ 300.00 บาท (ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ซึ่งร้านค้าทำการขายสินค้าได้ 40.00 หน่วย

ขั้นตอนที่ 1: สร้างใบแจ้งหนี้สำหรับสินค้าที่นำไปฝากร้านค้า เพื่อทำการตัดสินค้าออกจาก

ทำการออกใบแจ้งหนี้ เพื่อทำการตัดสินค้าออกจากสต็อก

โดยเลือกเมนูรายรับ> ใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้/บันทึกลูกหนี้ > กดปุ่ม +สร้าง

ขั้นตอนที่ 2: ระบุรายละเอียดในการสร้างใบแจ้งหนี้
อ้างอิงถึง: ระบุข้อมูลที่ต้องการ (ถ้ามี) จำกัดตัวหนังสือ 32 อักขระ
เลขที่เอกสาร: ระบบจะทำการรันให้อัตโนมัติ โดย Format เลขที่เอกสารจะทำการใช้เลขที่ที่ตั้งค่า สามารถแก้ไขเลขที่เอกสารระบุเลขที่ที่ต้องการได้

ข้อมูลลูกค้า

ชื่อลูกค้า: ระบุรหัสผู้ติดต่อ

วันที่ออก: ระบบจะทำการ Default วันที่ปัจจุบันที่สร้างเอกสาร สามารถแก้ไขเลือกวันที่ย้อนหลังหรือในอนาคตได้

วันที่ครบกำหนด: ระบบจะทำการดึงข้อมูลวันที่ครบกำหนดจากรหัสผู้ติดต่อ หากไม่มีการระบุระบบจะไปดึงข้อมูลที่หน้าตั้งค่า

กลุ่มจัดประเภท (สำหรับ Package Pro Plus)

สามารถระบุประเภทตอนสร้างเอสการ หรือจะไม่ระบุ มาระบุย้อนหลังได้เช่นกัน

ข้อมูลราคาและรวมภาษี

ประเภทราคา: ระบบจะทำการ Default ประเภทราคาจากการตั้งค่า สามารถแก้ไขตอนสร้างเอกสารอีกครั้งได้
การออกใบกำกับภาษี: หากรายการในเอกสารใบแจ้งหนี้มีภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องการใบแจ้งหนี้เฉยๆ ให้ปิดการออกใบกำกับภาษี ระบบจะทำการลงผังบัญชีภาษีขายรอเรียกเก็บ (215202)

หากเปิดใบกำกับภาษี ระบบจะทำการลงบันทึกบัญชีภาษีขาย (215201)

ราคานี้เป็นค่าเงิน: สามารถระบุสกุลเงินตราต่างประเทศที่ต้องการได้ เบื้องต้นระบบจะ Default เป็นเงินสกุลเงินบาท

รายการ

สินค้า/บริการ: ระบุรหัสสินค้า/บริการ (ถ้ามี)

บัญชี: กรณีที่เลือกรหัสสินค้า/บริการ ระบบจะดึงรหัสผังบัญชีที่ผูกในรหัสสินค้า/บริการมาให้อัตโนมัติ หรือจะสามารถระบุผังบัญชีที่ต้องการได้

คำอธิบาย: กรณีที่เลือกรหัสสินค้า/บริการ ระบบจะดึงคำอธิบายที่ผูกในรหัสสินค้า/บริการมาให้อัตโนมัติ หรือจะสามารถระบุคำอธิบายที่ต้องการได้ (รองรับ 1,000 อักขระ)

จำนวน: ระบุจำนวนสินค้า/บริการ

ราคา/หน่วย: ระบุราคา/หน่วย

ส่วนลดต่อหน่วย: ระบุส่วนลด/หน่วย (ถ้ามี)

ภาษี: ให้ระบุภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%, 0% หรือไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามที่ต้องการ

หัก ณ ที่จ่าย: ระบุหัก ณ ที่จ่ายที่ต้องการ (ถ้ามี)

หากใบแจ้งหนี้มีมากกว่า 1 รายการ ให้กดปุ่ม + รายการใหม่

และต้องการเพิ่มคำอธิบายรายการ ให้กดปุ่ม + เพิ่มคำอธิบายรายการ

ระบบจะทำการตัดสินค้าออกจากสต็อก

ตัวอย่างสินค้าถูกตัดออกจากสต็อก

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชีของเอกสารใบแจ้งหนี้

ขั้นตอนที่ 3: เมื่อร้านค้าสรุปจำนวนสินค้าที่ขายได้มาให้ สินค้าในส่วนที่ขายไม่ได้จะต้องทำการออกใบลดหนี้ เพื่อแสดงการรับคืนสินค้าเข้าสต็อก

โดยจากตัวอย่างข้างต้น ร้านค้าขายสินค้าได้ 40 หน่วย กิจการจึงต้องออกใบลดหนี้ เพื่อแสดงการรับคืนสินค้าจำนวน 60 หน่วย เพื่อให้สินค้ากลับเข้าสต็อก

ซึ่งทางโปรแกรม PEAK สามารถออกใบลดหนี้ได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่ 1 : การออกใบลดหนี้แสดงยอดที่ถูกต้อง ดูตัวอย่างได้โดยคลิกที่นี่

รูปแบบที่ 2 : การออกใบลดหนี้แสดงยอดที่เปลี่ยนแปลง ดูตัวอย่างได้โดยคลิกที่นี่

จากตัวอย่างนี้ ทางทีมงานขออนุญาตยกตัวอย่างการสร้างใบลดหนี้ ด้วยรูปแบบแสดงยอดที่ถูกต้อง

เมื่อเข้ามาดูรายการเคลื่อนไหวของสินค้า จะพบว่า มีสินค้ากลับคืนเข้าสต็อก จำนวนสินค้า 60.00 หน่วย

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชีของการออกใบลดหนี้

ขั้นตอนที่ 4: เมื่อทำการออกใบลดหนี้เรียบร้อยแล้ว กลับมาที่เอกสารใบแจ้งหนี้ฉบับเดิมเพื่อทำรายการกดรับชำระเงินที่ทางร้านค้าโอนเงินมาให้ โดยเลือกข้อมูลการชำระ กด "รับชำระแล้ว"

จะมี Pop-Up ขึ้นมาให้ระบุวันที่รับชำระเงินและช่องทางที่รับชำระเงินมา เมื่อระบุข้อมูลเรียบร้อยแล้ว กด "รับชำระเงิน"

ขั้นตอนที่ 5: เมื่อทำการรับชำระเงินเรียบร้อยแล้ว

ทำการกดปุ่มออกใบเสร็จรับเงิน เพื่อทำการออกใบเสร็จรับเงินให้ร้านค้า

ระบบจะโหลดมาหน้าสร้างใบเสร็จรับเงิน ที่อ้างอิงข้อมูลจากเอกสารใบแจ้งหนี้

วันที่ออก: ระบบจะทำการ Default วันที่ปัจจุบันที่สร้างเอกสาร สามารถแก้ไขเลือกวันที่ย้อนหลังหรือในอนาคตได้

เมื่อทำการตรวจสอบข้อูลใบเสร็จรับเงินเรียบร้อยแล้ว้อมูลถูกต้อง สามารถกดอนุมัติเอกสารใบเสร็จรับเงินได้

ขั้นตอนที่ 6: การออกใบแจ้งหนี้อีกครั้ง ตามยอดจำนวนสินค้าที่อยู่ร้านฝากขาย

จากตัวอย่าง เรามีการนำสินค้าเอเอไปฝากร้านค้าขาย 100 หน่วย

ทำการขายสินค้าได้ 40 หน่วย จะมีสินค้าอยู่ที่ร้าน 60 หน่วย แต่การออกใบลดหนี้เพื่อเรียกเก็บยอดเงินที่ขายสินค้าได้นั้น ระบบจะทำการคืนสต๊อกเข้ามา 60 หน่วย ทำให้สต๊อกไม่ตรงกับความจริง ดังนั้นกิจการต้องออกใบแจ้งหนี้อีกครั้งหลังจากสรุปยอดรอบแรก

  • หากกิจการไม่ส่งสินค้าไปฝากขายเพิ่มให้ทำการออกใบแจ้งหนี้เพื่อทำการตัดสต๊อกสินค้า ตามตัวอย่างจะต้องทำการออกใบแจ้งหนี้ 60 หน่วย ตามสินค้าที่มีอยู่จริงที่ร้านฝากขาย

  • หากกิจการส่งสินค้าไปเพิ่มอีก 50 หน่วย ให้ทำการออกใบแจ้งหนี้ระบุสินค้า 110 (60+50) หน่วย

- จบขั้นตอนวิธีการบันทึกสินค้าฝากขาย -

Did this answer your question?