การบันทึกรายการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการจ่ายไปต่างประเทศ และนำส่งภาษีซื้อให้กรมสรรพากร สามารถบันทึกได้ตามตัวอย่าง ดังต่อไปนี้
ตัวอย่าง กิจการได้รับใบเสร็จรับเงินจาก บจ. Google ต่างประเทศ เป็นค่าโฆษณา ราคา 100,000 บาท ใบเสร็จรับเงินระบุวันที่ 1 มีนาคม 2024 และทางกิจการชำระค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท ให้ทาง บจ. Google 1 มีนาคม 2024
ขั้นตอนที่ 1 : บันทึกค่าใช้จ่าย Google ดังนี้
โดยทำการชำระเงินวันที่ 01 มีนาคม 2024 ให้เข้าไปที่เมนูรายจ่าย >> บันทึกค่าใช้จ่าย >> กดสร้าง
บันทึกรายการค่าใช้จ่ายตามเอกสาร โดยใส่ราคาตามจริง 100,000 บาท
แต่ช่องภาษีให้เลือกเป็น 7% เพื่อให้โชว์ที่รายงานภาษีซื้อ ดังนั้นจะมีรายการภาษีซื้อเท่ากับ 7,000 บาท
บันทึกเพิ่มรายการ "215103 - ภ.พ.36 ค้างจ่าย" และใส่ราคาเป็นยอดติดลบด้วยจำนวนที่เท่ากันกับภาษีซื้อสำหรับรายการแรก -7,000 บาท โดยสุดท้ายยอดรวมสุทธิของการบันทึกรายการจ่ายจะเท่ากับ 100,000 บาทตามที่ได้รับใบเสร็จรับเงินจาก บจ. Google
ใส่ข้อมูลการชำระเงิน เมื่อใส่ข้อมูลทั้งหมดเรียบร้อยแล้วสามารถกดอนุมัติได้เลย
ระบบจะบันทึกบัญชีให้อัตโนมัติในสมุดรายวันดังนี้
ขั้นตอนที่ 2 : การบันทึกจ่าย ภ.พ.36 ให้กับกรมสรรพากร
วันที่ 15 เมษายน 2024 ทำการชำระเงิน ภ.พ.36 ค้างจ่าย ให้กับกรมสรรพากร
โดยเข้าที่เมนูรายจ่าย >> บันทึกค่าใช้จ่าย >> กรอกข้อมูลที่ต้องการ โดยผังบัญชี/ค่าใช้จ่าย
ให้ระบุผังบัญชี 215103 - ภ.พ.36 ค้างจ่าย
เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เลือกช่องทางการชำระเงิน และกดอนุมัติรายการได้เลย
ขั้นตอนที่ 3 : การขอคืน ภ.พ.36 ค้างจ่าย
เมื่อมีการจ่ายภาษี ภ.พ. 36 แล้ว จะสามารถขอคืนภาษี ภ.พ.36 นี้ได้ในเดือนที่จ่ายภาษี
คือ เดือน 4 และการขอคืนภาษีจะเป็นเดือน 5 โดยการนำเลขที่ใบเสร็จของกรมสรรพากร
มากรอกที่ "เพิ่มใบกำกับฯ"
เมื่อกดเพิ่มใบกำกับฯ แล้ว ให้กรอกข้อมูลตามข้อมูลใบเสร็จรับเงินที่ได้จากกรมสรรพากร จากนั้น กด "ลงทะเบียน" ระบบจะกลับรายการจากภาษีซื้อไม่ถึงกำหนดเป็นภาษีซื้อให้อัตโนมัติ
ระบบจะบันทึกบัญชีให้อัตโนมัติ ตัวอย่างการบันทึกบัญชีมีดังนี้
- จบขั้นตอนวิธีการบันทึกการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างประเทศ และรายการ ภ.พ.36 ที่นำส่งสรรพากรให้โชว์ในรายงานภาษี -
คู่มืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างประเทศ และรายการ ภ.พ.36 ที่นำส่งสรรพากรให้โชว์ในรายงานภาษี