การบันทึกบัญชีแบบถัวเฉลี่ยภาษีซื้อ
หากธุรกิจมีทั้งสินค้าที่มี VAT และไม่มี VAT การขอบันทึกภาษีซื้อจะเป็นแบบถัวเฉลี่ย
ขั้นตอนที่ 1 เข้าที่เมนูรายจ่าย >> บันทึกค่าใช้จ่าย >> สร้าง
ขั้นตอนที่ 2 ระบุรายละเอียด
ตัวอย่าง
กิจการจ่ายค่าบริการ 10,000 บาท (ไม่รวม VAT) โดยการคิดภาษีซื้อเป็น 60% ของค่าใช้จ่าย
ส่วน 40% สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ จะสามารถบันทึกได้ดังนี้
1.ยอดก่อน VAT 10,000 X 60% = 6,000 บาท
2.ภาษีซื้อที่สามารถใช้ได้ 6,000 X 7 % = 420 บาท
3.ส่วนต่างที่นำกลับไปเป็นค่าใช้จ่าย 10,000 X 40% = 4,000 บาท
4.ภาษีซื้อที่ใช้ไม่ได้แต่นำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ 4,000 X 7 % = 280 บาท
5.หัก ณ ที่จ่าย 3% (ถ้ามี) 10,000 X 3% = 300 บาท
หมายเหตุ การบันทึกต้นทุนขายที่แยก 3 บรรทัดเพราะ
บรรทัดที่ 1 การประยุกต์ใช้ภาษีแบบถัวเฉลียเพื่อให้ตัวเลขออกทั้งรายงานและการบันทึกบัญชีที่หน้าแยกประเภทออกมาตรง
บรรทัดที่ 2 เป็นยอดที่กำหนดหัก ณ ที่จ่าย เช่น ต้องการออกยอดก่อน VAT 10,000 บาท
จะต้องยอด 10,000 บาท มาหักออกจากตัวเลขบรรทัดที่ 1 (10,000-6,000 = 4,000)
บรรทัดที่ 3 คือยอดภาษีส่วนที่เหลือใช้ภาษีซื้อไม่ได้แต่นำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้
ซึ่งทั้ง 3 บรรทัดต้องระบุผังบัญชีเดียวกัน
ช่องทางการชำระเงิน ใส่ช่องทางที่ชำระ และกดอนุมัติบันทึกค่าใช้จ่าย
ตัวอย่างหนังสือหัก ณ ที่จ่าย
-การบันทึกบัญชีแบบถัวเฉลี่ยภาษีซื้อ-