Skip to main content
All Collectionsอื่น ๆ การประยุกต์การใช้งาน
ขายสินทรัพย์ที่ยังมีหนี้ติดกับไฟแนนซ์ (AA020)
ขายสินทรัพย์ที่ยังมีหนี้ติดกับไฟแนนซ์ (AA020)

(AA020)

Updated over 2 years ago

กรณีขายสินทรัพย์ ซึ่งสินทรัพย์ที่ขายยังมีเจ้าหนี้คงค้างอยู่ สามารถบันทึกรายการได้ดังนี้

ยกตัวอย่างข้อมูล

  • บริษัท กอ.ไก่ จำกัด ขายสินทรัพย์รถยนต์ 500,000.00 บาท (แบบรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

  • ณ ขณะนี้ที่ขายสินทรัพย์นี้ รถยนต์ที่ทำการขายนั้น มีเจ้าหนี้ไฟแนนซ์อยู่ที่ 200,000.00 บาท (แบบรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

  • ซึ่งตอนลูกค้าทำการชำระเงินให้ บริษัท กอ.ไก่ จำกัด ได้ชำระเงินให้ 300,000.00 บาท (แบบรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

  • ส่วนจำนวนเงินอีก 200,000.00 บาท (แบบรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทางลูกค้าได้ถือเงินไปชำระกับทางเจ้าหนี้ไฟแนนซ์ด้วยตนเอง และนำเอกสารมาให้ทาง บริษัท กอ.ไก่ จำกัด

การบันทึกขายสินทรัพย์

ขั้นตอนที่ 1: เข้าที่ PEAK Asset> กดคลิกทะเบียนสินทรัพย์

เลือกกลุ่มสินทรัพย์ที่ต้องการขาย> เลือกรหัสสินทรัพย์ที่ต้องการขาย

ขั้นตอนที่ 2: เข้าไปที่รหัสสินทรัพย์ที่ต้องการขาย

เมื่ออยู่หน้ารหัสสินทรัพย์ที่ต้องการขาย ให้กดเครื่องหมาย Dropdown ปุ่มทำรายการ> เลือก ขายสินทรัพย์

ขั้นตอนที่ 3: ระบบจะโหลดมาที่หน้าเอกสารใบแจ้งหนี้ขายสินทรัพย์

ระบุข้อมูลการขายสินทรัพย์ตามที่ต้องการ

หมายเหตุ:

  • หากต้องการออกให้เป็นใบแจ้งหนี้/ใบกำกับให้ติ๊กออกใบกำกับภาษีขายได้

  • เมื่อทำการขายสินทรัพย์ ระบบจะทำการหยุดคิดค่าเสื่อมราคาให้อัตโนมัติ

    เช่น ขายสินทรัพย์ระบุวันที่ออกเอกสาร 17 มิถุนายน ค.ศ. 2022 วันที่ระบบหยุดคำนวณค่าเสื่อมราคาจะเป็นวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2022 (วันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2022 จะเป็นวันที่ถูกคำนวณค่าเสื่อมราคาวันสุดท้าย และวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2022 จะไม่ถูกบันทึกค่าเสื่อมราคา)

  • เมื่อทำการขายสินทรัพย์ ระบบ PEAK จะคำนวณค่าเสื่อมราคาให้ถึงวันที่ขายและจะบันทึกบัญชีให้อัตโนมัติ (สมุดรายวันทั่วไป JVDP) ก่อนทำการบันทึกบัญชีขายสินทรัพย์

    - หากมูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ขายมากกว่าราคาขาย ส่วนต่างจะบันทึกเข้า 420101 - กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์

    - หากมูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ขายน้อยกว่าราคาขาย ส่วนต่างจะบันทึกเข้า 540102 - ขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชี

ขั้นตอนที่ 4: ขั้นตอนการรับชำระเงินการขายสินทรัพย์

  • ซึ่งตอนลูกค้าทำการชำระเงินให้ บริษัท ได้ชำระเงินให้ 300,000.00 บาท (แบบรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

  • ส่วนจำนวนเงินอีก 200,000.00 บาท (แบบรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทางลูกค้าได้ถือไปชำระกับทางเจ้าหนี้ไฟแนนซ์ด้วยตนเอง และนำเอกสารมาให้ทาง บริษัท กอ.ไก่ จำกัด

เมื่ออยู่ที่หน้าเอกสารใบแจ้งหนี้ขายสินทรัพย์ ให้คลิกที่แถบสถานะข้อมูลการชำระ และกดปุ่มสีเขียวรับชำระแล้ว

ระบบจะมี Pop-Up ข้อมูลการรับชำระเงินขึ้น ให้กดปุ่ม ขั้นสูง

ทำการกดติ๊กถูกช่องค่าธรรมเนียม หรือรายการปรับปรุง

เพื่อทำการบันทึกเงินที่ลูกค้าขอนำเงินไปชำระกับทางไฟแนนซ์ด้วยตนเอง จำนวนเงิน 200,000.00 บาท

รายการปรับปรุงระบุ: หักเงินที่ต้องจ่าย

ปรับปรุงด้วยบัญชีระบุ: ระบุผังบัญชีตามที่ต้องการ เพื่อนำรายการนี้ไปหักล้างกับผังบัญชีเจ้าหนี้ไฟแนนซ์ ทางทีมงานขออนุญาตยกตัวอย่างใช้ผังบัญชี 216102 - หนี้สินหมุนเวียนอื่น

จำนวนเงินที่ปรับปรุงระบุ: 200,000.00

ระบุวันที่รับชำระเงินรับชำระโดย

ช่องทางการรับชำระเงิน และจำนวนเงินที่รับชำระ 300,000.00 บาท

เมื่อระบุข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง ก่อนกดปุ่มรับชำระเงิน

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชี

ขั้นตอนที่ 5: เมื่อทำรายการรับชำระเงินเรียบร้อยแล้ว สามารถกดออกเอกสารใบเสร็จรับเงินได้ตามปกติ

การบันทึกรายการจ่ายชำระเงินให้เจ้าหนี้ไฟแนนซ์

ขั้นตอนที่ 1: กดสร้างบันทึกรายการจ่ายที่หน้ารายจ่าย

โดยผังบัญชีให้ทำการระบุผังบัญชีเจ้าหนี้ไฟแนนซ์ ที่เป็นเจ้าหนี้ไฟแนนซ์ยอดคงค้างไว้

ระบุผังบัญชี เจ้าหนี้ไฟแนนซ์ จำนวน 1.00 หน่วย ราคาต่อหน่วยอยู่ที่ 200,000.00 บาท (แบบรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ข้อมูลการชำระเงิน ระบุขั้นสูง

ติ๊กถูกที่ช่อง ค่าธรรมเนียม หรือรายการปรับปรุง เพื่อทำการบันทึกเงินที่ชำระให้ไฟแนนซ์ จำนวนเงิน 200,000.00 บาท

ช่องปรับปรุงให้ระบุ: หักเงินที่ต้องจ่าย

ปรับปรุงด้วยบัญชีระบุ: ทำการระบุผังบัญชีเดียวกับที่ทำการตั้งไว้ ซึ่งจากขั้นตอนก่อนหน้า ได้บันทึกรายการโดยลงบัญชี 216102 - หนี้สินหมุนเวียนอื่น

จำนวนเงินที่ปรับปรุงระบุ: ทำการระบุจำนวนเงิน 200,000.00 บาท

ทำการระบุวันที่ชำระเงิน และตรวจสอบข้อมูลก่อนกดอนุมัติค่าใช้จ่าย

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชี

- จบการประยุกต์การใช้งาน ขายสินทรัพย์ที่ยังมีหนี้ติดกับไฟแนนซ์ -

Did this answer your question?