Skip to main content
All Collectionsจัดการสินค้าและบริการแก้ไขสินค้า/บริการตั้งต้น
การเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าสินค้าจากปิดเป็นเปิดการคำนวณต้นทุนเมื่อขายสินค้า (NI026)
การเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าสินค้าจากปิดเป็นเปิดการคำนวณต้นทุนเมื่อขายสินค้า (NI026)
Updated over 2 years ago

กรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าสินค้าจากปิดการคำนวณต้นทุนขาย (ระบบจะไม่บันทึกบัญชีตัดสินค้าสำเร็จรูปให้อัตโนมัติ) เป็นเปิดการคำนวณต้นทุนเมื่อขายสินค้าจะสามารถทำได้ 3 วิธีดังนี้


วิธีที่ 1 : สร้างสินค้าใหม่และลบสินค้าเก่า
วิธีที่ 2 : บันทึกปรับปรุงรายการต้นทุนขายและสินค้าสำเร็จรูปที่สมุดรายวันโดยตรง
วิธีที่ 3 : ประยุกต์สร้างรหัสสินค้าใหม่และจัดเก็บรหัสสินค้าเก่า


หมายเหตุ : รูปแบบการบันทึกบัญชีสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกิจการ
จากตัวอย่าง
ตั้งค่าการบันทึกบัญชีขายเป็น 410101 - รายได้จากการขายสินค้า
ตั้งค่าการบันทึกบัญชีซื้อเป็น 114102 - สินค้าสำเร็จรูป


วิธีที่ 1 : สร้างสินค้าใหม่และลบสินค้าเก่า (เหมาะสำหรับรหัสสินค้าที่ยังไม่เคยนำไปสร้างเอกสารหรือมีการอ้างอิงกับเอกสารจำนวนไม่มาก)
โดยจะเป็นการลบสินค้าเก่าแล้วสร้างสินค้าใหม่ และ ตั้งค่าการคำนวณต้นทุนเมื่อขายสินค้าตามที่ต้องการ วิธีการสร้างสินค้าสามารถกำหนดรหัสสินค้าให้เหมือนเดิมได้

วิธีที่ 2 : บันทึกปรับปรุงรายการที่สมุดรายวันโดยตรง
กรณีที่ตั้งค่าสินค้าจาก ปิด การคำนวณต้นทุนเมื่อขายสินค้า ระบบจะไม่บันทึกบัญชีตัดสินค้าสำเร็จรูปให้อัตโนมัติ ดังนั้นเราต้องบันทึกบัญชีตัดสินค้าสำเร็จรูปเองอาจจะเป็นทึกเป็นรอบรายเดือน หรือรายปี ก็ได้ โดยเข้าที่เมนูบัญชี > บัญชีรายวัน > สร้างสมุดรายวัน และกรอกข้อมูลตามที่ต้องการ

วิธีที่ 3 : ประยุกต์สร้างรหัสสินค้าใหม่และจัดเก็บรหัสสินค้าเก่า (เหมาะสำหรับรหัสสินค้าที่เคยนำไปสร้างเอกสารแล้ว)

ตัวอย่าง กิจการตั้งค่า Keyboard รหัส P00008 ปิดคำนวณต้นทุนขายและ

เมื่อวันที่ 20/06/2022 ต้องการเปลี่ยนเป็นต้องการให้ Keyboard คำนวณและบันทึกต้นทุนขายอัตโนมัติ จำนวนสินค้าคงเหลือ ณ ตอนที่ต้องการเปลี่ยนคือ 49 หน่วย

ขั้นตอนที่ 1 : เปลี่ยนรหัสสินค้าเก่าและสร้างรหัสสินค้าใหม่

  • เปลี่ยนรหัสสินค้าเก่า Keyboard P00008 ที่ต้องการจัดเก็บเป็นรหัสสินค้าอื่น จากตัวอย่างจะเปลี่ยนเป็นรหัสสินค้า 00

  • เมื่อเปลี่ยนรหัสสินค้าเก่าแล้วสร้างสินค้า Keyboard ขึ้นมาใหม่ (สามารถใช้รหัสสินค้าเดิมได้) จากนั้นกรอกข้อมูลที่ต้องการและตั้งค่าให้ระบบคำนวณต้นทุนเมื่อขาย (วิธีการเพิ่มสินค้า)

  • ตัวอย่างหน้าสินค้า จะพบว่ามี Keyboard 2 รหัส คือ P00008(รหัสสินค้าใหม่) และ 00(รหัสสินค้าเก่า)


    หมายเหตุ : กรณีมีการออกเอกสารสารขายไปแล้ว ระบบจะไม่ได้บันทึก
    Dr.ต้นทุนขาย Cr.สินค้าสำเร็จรูปให้ ดังนั้นกิจการต้องไปบันทึกต้นทุนในอดีต(ต้นทุนที่กิจการเคยขายสินค้ามาทั้งหมดตั้งแต่อดีตจนถึงวันที่จะเปลี่ยนประเภทการคำนวณต้นทุนสินค้า) ที่สมุดรายวันโดยตรงเพื่อตัดผังบัญชีสินค้าสำเร็จรูปตอนซื้อสินค้าของ Keyboard รหัสสินค้า 00

ขั้นตอนที่ 2 : ปรับปรุงสินค้าเก่าให้เหลือ 0 และทำการจัดเก็บ
ขั้นตอนที่ 2.1 : ปรับปรุงสินค้าเก่าให้เหลือ 0

เข้ารหัสสินค้าเดิม รหัส 00 ให้ยอดเป็น 0 จากนั้นกดปรับปรุง

เมื่อกดปรับปรุงแล้ว จำนวนคงเหลือสินค้าเป็น 0 (ระบบจะไม่ได้มีการบันทึกบัญชีให้เพราะตั้งค่าสินค้าปิดการคำนวณต้นทุนเมื่อขายไว้)

ขั้นตอนที่ 2.2 : จัดเก็บสินค้าเก่า 00
วิธีการจัดเก็บ/เรียกคืน สินค้าและบริการ

ขั้นตอนที่ 3 : บันทึกยอดยกมาของสินค้าใหม่

เข้าไปที่สินค้าใหม่ Keyboard P00008 ที่เพิ่งสร้าง จากนั้นแก้ไขยอดยกมา โดยระบุดังนี้
วันที่ซื้อสินค้า = วันที่ทำการเปลี่ยนแปลงหรือวันที่ซื้อสินค้านั้นจริงๆ
จำนวนหน่วยยกมา = จำนวนคงเหลือ ณ วันที่ต้องการเปลี่ยนแปลง
ราคาต่อหน่วยยกมา = ราคาที่ทำการซื้อสินค้านั้นๆ

สามารถดู วิธีการแก้ไขยอดยกมาของสินค้า
เมื่อทำการกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้กด "ยืนยัน"

ตัวอย่างสินค้าที่ทำการบันทึกยอดยกมา

สินค้าจะปรากฏเพียงแค่รายการที่มีการคำนวณต้นทุนเพียงรายการเดียว


-จบการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าสินค้าจากปิดเป็นเปิดการคำนวณต้นทุนเมื่อขายสินค้า-

Did this answer your question?