Skip to main content
ผู้ให้ส่วนลด Rebate (AA031)

Receive a rebate (AA031)

Updated over 6 months ago

ส่วนลด Rebate คืออะไร คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่

ส่วนลด Rebate คือ ส่วนลดที่ส่งเสริมการขายของกิจการ ซึ่งส่วนลด Rebate ไม่ถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มในการคำนวณ ซึ่งทางผู้จ่ายเงินจะต้องมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.00 ของรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 118/2545 ในข้อ 1 ตัวอย่างที่ 8

ผู้ให้ส่วนลด Rebate มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

ข้อมูลตัวอย่าง

กิจการ ได้มีการขายสินค้ากับบริษัท บีบี จำกัด (สำนักงานใหญ่) และได้มีการทำสัญญาซื้อขายร่วมกัน ในรายละเอียดสัญญาแจ้งว่า ทางกิจการจะได้ให้ส่วนลด Rebate ร้อยละ 5.00 ของยอดซื้อสินค้าที่บริษัท บีบี จำกัด (สำนักงานใหญ่) ทำการซื้อสินค้ากับทางกิจการ

โดยจะมีการจ่ายเงินให้ในทุก ๆ สิ้นเดือน

  • เดือน พฤศจิกายน ค.ศ.2022 ทาง บริษัท บีบี จำกัด (สำนักงานใหญ่) มียอดซื้อสินค้าอยู่ที่ 150,000.00 บาท จะได้รับส่วนลด Rebate 5% = 7,500.00 บาท

ดูรายละเอียดขั้นตอนการบันทึกให้ส่วนลด Rebate ได้ดังนี้

แบบที่ 1 : ให้ส่วนลด Rebate เป็นเงินสด

เมื่อกิจการให้ส่วนลด Rebate เป็นเงินสด สามารถกดสร้างบันทึกรายการ โดยสร้างเอกสารใบลดหนี้ฝั่งรายรับ แบบไม่อ้างอิงเอกสาร

ขั้นตอนที่ 1: ไปที่รายรับ> เลือก ใบลดหนี้> กดปุ่มสร้าง

ขั้นตอนที่ 2: เลือกรูปแบบใบลดหนี้ แบบ "ไม่อ้างอิงเอกสารเดิม" แล้วกดปุ่ม ถัดไป

ขั้นตอนที่ 3: ระบุรายละเอียดในการสร้างใบลดหนี้

  • ช่องอ้างอิง (ถ้ามี)

  • ระบุชื่อผู้ขาย

  • ระบุวันที่ออก

  • กลุ่มจัดประเภท (ถ้ามี)

  • ข้อมูลราคาและภาษี

ข้อมูลการลดหนี้

  • ระบุสาเหตุของการลดหนี้

  • ระบุคำอธิบายอย่างย่อ: เบื้องต้นระบบจะดึงคำอธิบายมาจากสาเหตุการลดหนี้ สามารถแก้ไขระบุสาเหตุที่ตามที่ต้องการได้

  • มีการคืนสินค้าเพิ่มหรือไม่: ระบุเป็นไม่มีการคืนสินค้า

รายการลดหนี้ ระบุข้อมูลลดหนี้ต่าง ๆ ตามที่ต้องการ

ใบลดหนี้ จะต้องมีมูลค่าตามเอกสารเดิม และเนื่องจากเป็นการสร้างใบลดหนี้แบบไม่อ้างอิงเอกสาร เป็นการสร้างบันทึกรับใบลดหนี้ที่ไม่อ้างอิงเอกสารใน PEAK จะต้องระบุข้อมูลมูลค่าตามเอกสารเดิม โดยกดไอคอนดินสอ ที่รายการมูลค่าตามเอกสารเดิม

ระบุมูลค่าตามเอกสารเดิม

ข้อมูลการรับชำระเงิน

  • ระบุวันที่ชำระ

  • ช่องทางการรับชำระเงิน และจำนวนเงิน

  • ระบุข้อมูลถูกหัก ณ ที่จ่าย

ขั้นตอนที่ 4: อนุมัติบันทึกรับใบลดหนี้

เมื่อระบุข้อมูลครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง ก่อนกดอนุมัติบันทึกรับใบลดหนี้

ตัวอย่างบันทึกรับใบลดหนี้หลังกดอนุมัติรายการ

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชี

ตัวอย่างหนังสือหัก ณ ที่จ่าย

แบบที่ 2 : ให้ส่วนลด Rebate เป็นเครดิตการชำระเงินครั้งถัดไป

จะมีขั้นตอนใหญ่ ๆ จำนวน 2 ขั้นตอน

  • ขั้นตอนที่ 1: การบันทึกรับใบลดหนี้เพื่อเป็นเครดิตในการชำระเงินครั้งถัดไป (บันทึกรับส่วนลด Rebate)

  • ขั้นตอนที่ 2: การบันทึกนำส่วนลด Rebate มาใช้งาน

ขั้นตอนที่ 1: การบันทึกรับใบลดหนี้เพื่อเป็นเครดิตในการชำระเงินครั้งถัดไป (บันทึกรับส่วนลด Rebate)

ขั้นตอนที่ 1.1.: ไปที่รายรับ> เลือก ใบลดหนี้> กดปุ่มสร้าง

ขั้นตอนที่ 2: เลือกรูปแบบใบลดหนี้ แบบ "ไม่อ้างอิงเอกสารเดิม" แล้วกดปุ่ม ถัดไป

ขั้นตอนที่ 3: ระบุรายละเอียดในการสร้างใบลดหนี้

  • ช่องอ้างอิง (ถ้ามี)

  • ระบุชื่อผู้ขาย

  • ระบุวันที่ออก

  • กลุ่มจัดประเภท (ถ้ามี)

  • ข้อมูลราคาและภาษี

ข้อมูลการลดหนี้

  • ระบุสาเหตุของการลดหนี้

  • ระบุคำอธิบายอย่างย่อ: เบื้องต้นระบบจะดึงคำอธิบายมาจากสาเหตุการลดหนี้ สามารถแก้ไขระบุสาเหตุที่ตามที่ต้องการได้

  • มีการคืนสินค้าเพิ่มหรือไม่: ระบุเป็นไม่มีการคืนสินค้า

รายการลดหนี้ ระบุข้อมูลลดหนี้ต่าง ๆ ตามที่ต้องการ

ใบลดหนี้ จะต้องมีมูลค่าตามเอกสารเดิม และเนื่องจากเป็นการสร้างใบลดหนี้แบบไม่อ้างอิงเอกสาร เป็นการสร้างบันทึกรับใบลดหนี้ที่ไม่อ้างอิงเอกสารใน PEAK จะต้องระบุข้อมูลมูลค่าตามเอกสารเดิม โดยกดไอคอนดินสอ ที่รายการมูลค่าตามเอกสารเดิม

ระบุมูลค่าตามเอกสารเดิม

ขั้นตอนที่ 2: การบันทึกนำส่วนลด Rebate มาใช้งาน

ข้อมูลการรับชำระเงินของเอกสารบันทึกรับใบลดหนี้

  • ให้กดปุ่มขั้นสูง

ติ๊กถูกช่องตัดชำระกับเอกสาร เพื่อเลือกใบแจ้งหนี้ที่เคยสร้างไว้ (ใบแจ้งหนี้ต้องอยู่ในสถานะอนุมัติแล้ว และต้องมียอดค้างรับชำระเงิน)

ประเภทเอกสาร: ระบุ ใบแจ้งหนี้

เลขที่เอกสาร: ระบุ เลขที่ใบแจ้งหนี้ที่ต้องการตัดชำระเงิน

จำนวนเงินที่รับชำระ: จำนวนเงินที่นำไปตัดชำระเงิน

หมายเหตุ: ช่องทางการรับชำระเงิน จะไม่มีการระบุ เนื่องจากเราไม่ได้รับเงินมาจากคู่ค้า

  • ระบุวันที่ชำระ

  • ข้อมูลถูกหัก ณ ที่จ่าย

เมื่อระบุข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ตรวจสอบข้อมูลเอกสารบันทึกรับใบลดหนี้อีกครั้ง ถ้าข้อมูลถูกต้องและครบถ้วน สามารถกดปุ่มอนุมัติบันทึกรับใบลดหนี้ เพื่ออนุมัติเอกสาร

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชีของเอกสารใบลดหนี้

ตัวอย่างหนังสือหัก ณ ที่จ่าย

ข้อมูลใบแจ้งหนี้ ที่แถบสถานะข้อมูลการชำระเงิน จะแสดงบันทึกใบลดหนี้ที่นำมาตัดกับเอกสาร

- จบขั้นตอนวิธีบันทึกผู้ได้รับส่วนลดพิเศษทางการค้า (Rebate) -

คู่มืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีบันทึกผู้ได้รับส่วนลดพิเศษทางการค้า (Rebate)

Did this answer your question?