ตัวอย่าง กิจการทำการขายสินค้ามูลค่า 10,700.00 บาท (ยอดรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ให้กับกิจการ A
ถัดมากิจการมีการไปใช้บริการ 2,675.00 บาท (ยอดรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) กับกิจการ A (ที่เป็นลูกค้า)
เมื่อถึงเวลาการชำระเงิน ต้องการนำยอดลูกหนี้ และเจ้าหนี้ตัดกัน
จากตัวอย่าง ยอดขายมีมูลค่ามากกว่ายอดซื้อ ดังนั้น กิจการจะต้องได้รับเงินจากลูกค้า (กิจการ A)
ขั้นตอนการชำระเงินบันทึกค่าใช้จ่ายให้กิจการ A
ขั้นตอนที่ 1: ไปที่เมนูรายจ่าย > บันทึกค่าใช้จ่าย > กดสร้าง
ระบุข้อมูลค่าใช้จ่าย
ขั้นตอนที่ 2: ระบุการชำระเงินแบบขั้นสูง
ขั้นตอนที่ 3: ติ๊กถูกช่องค่าธรรมเนียมหรือรายการปรับปรุง
ขั้นตอนที่ 4: ระบุผังบัญชีที่จะนำข้อมูลลูกหนี้ และเจ้าหนี้ตัดกัน
ปรับปรุง: ระบุหักเงินที่ต้องจ่าย
ปรับปรุงด้วยบัญชี: ระบุผังบัญชีที่จะนำข้อมูลลูกหนี้เจ้าหนี้มาตัดกันตามที่ต้องการ
ทางเรายกตัวอย่างใช้งานผังบัญชี 212306 - เจ้าหนี้อื่น
จำนวนเงินที่ปรับปรุง: ระบุจำนวนเงิน 2,600.00 บาท (ยอดรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และหลังหัก ณ ที่จ่าย) (เนื่องจากมีหัก ณ ที่จ่ายค่าบริการ 3%)
ขั้นตอนที่ 5: กรณีค่าใช้จ่ายมีหัก ณ ที่จ่าย ให้ติ๊กถูกช่องภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ขั้นตอนที่ 6: ระบุข้อมูลหัก ณ ที่จ่ายตามที่ต้องการ
เมื่อระบุข้อมูลการชำระเงิน ตรวจสอบข้อมูลเอกสารอีกครั้งก่อนกดอนุมัติรายการ
ตัวอย่างการบันทึกบัญชี
ขั้นตอนการรับชำะเงินจากกิจการ A
ขั้นตอนที่ 1: ไปที่เมนูรายรับ > ใบแจ้งหนี้ > สร้าง
ระบุข้อมูลการขาย
ขั้นตอนที่ 2: ตอนทำรายการรับชำระเงิน กดปุ่ม ขั้นสูง
ขั้นตอนที่ 3: ติ๊กถูกช่องค่าธรรมเนียมหรือรายการปรับปรุง
ขั้นตอนที่ 4: ระบุผังบัญชีที่จะนำข้อมูลลูกหนี้ และเจ้าหนี้ตัดกัน
ปรับปรุง: ระบุหักเงินที่ต้องจ่าย
ปรับปรุงด้วยบัญชี: ระบุผังบัญชีที่เราบันทึกไว้ในบันทึกค่าใช้จ่าย
ตอนบันทึกค่าใช้จ่าย ในขั้นตอนที่ 4 การชำระเงิน มีการลงผังบัญชี 212306 - เจ้าหนี้อื่น
จำนวนเงินที่ปรับปรุง: ระบุจำนวนเงิน 2,600.00 บาท
ขั้นตอนที่ 5: บันทึกรับชำระเงินที่ได้รับจากลูกค้า
เมื่อระบุข้อมูลการชำระเงิน ตรวจสอบข้อมูลเอกสารอีกครั้งก่อนกดอนุมัติรายการ
ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชีรับชำระเงิน
- จบขั้นตอนลูกหนี้เจ้าหนี้ตัดกัน กรณีที่ลูกหนี้มากกว่าเจ้าหนี้ -