หากสต็อกสินค้าจริงกับPEAK ไม่ตรงกันทำยังไงได้บ้าง
หากสต็อกสินค้าจริงกับPEAK ไม่ตรงกันทำยังไงได้บ้าง
ในกรณีที่จำนวนสินค้าในคลังจริงไม่ตรงกับข้อมูลในระบบ PEAK เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ สามารถพิจารณาและปรับปรุงรายการให้เหมาะสม เช่น
กรณีที่บันทึกรายการและออกเอกสารไม่ครบถ้วน คู่มือการบันทึกรายการย้อนหลัง
กรณีที่ไม่ได้บันทึกยอดยกมา คู่มือบันทึกรายการยกมา
กรณีที่ไม่ทราบสาเหตุสามารถปรับปรุงได้ที่เมนูสินค้า คู่มือการปรับปรุงสินค้า
ทำไมต้องกดคำนวนต้นทุนขาย
ทำไมต้องกดคำนวนต้นทุนขาย
ระบบ PEAK รับรู้สินค้าคงเหลือแบบ FIFO การกดคำนวณต้นทุนขายมีไว้ใช้สำหรับกิจการมีการบันทึกขายสินค้าก่อนซื้อสินค้า หรือบันทึกซื้อสินค้าย้อนหลัง เพราะระบบจะบันทึกบัญชีต้นทุนขายให้ในเอกสารบันทึกซื้อสินค้า
ในกรณีดังกล่าวหากผู้ใช้งานต้องการให้มีการบันทึกต้นทุนสินค้าตอนที่เกิดการขายสินค้าอย่างถูกต้อง ควรกดคำนวณต้นทุนขายใหม่ ดูเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือการคำนวณต้นทุนขาย
สร้างสินค้ากับบริการต่างกันยังไง
สร้างสินค้ากับบริการต่างกันยังไง
การสร้างสินค้า สามารถตั้งค่าข้อมูลการบันทึกบัญชีให้คำนวณต้นทุนขายเพื่อคำนวณต้นทุนขายและจำนวนสินค้าคงเหลือได้ และหากมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ค่าตั้งต้นของเอกสารใบกำกับภาษีจะออกพร้อมใบแจ้งหนี้
การสร้างบริการ ไม่สามารถตั้งค่าข้อมูลการบันทึกบัญชีให้คำนวณต้นทุนขายเพื่อคำนวณต้นทุนขายและจำนวนคงเหลือได้ และหากมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ค่าตั้งต้นของเอกสารใบกำกับภาษีจะออกพร้อมใบเสร็จรับเงิน
ปิด/เปิดต้นทุนขายหมายความอย่างไร
ปิด/เปิดต้นทุนขายหมายความอย่างไร
การปิดคำนวณต้นทุนขาย
เป็นการตั้งค่าสินค้าไม่ให้คำนวณต้นทุนขายเมื่อเกิดการขาย แต่จะต้องคำนวณและตรวจนับ ณ วันที่ ที่ต้องการทราบราคาต้นทุนและยอดคงเหลือของสินค้า
ข้อดี : ง่ายกว่าสำหรับกิจการที่ไม่ได้สะดวกในการจัดเก็บสต๊อคอย่างละเอียด
ข้อเสีย : ไม่สามารถทราบต้นทุนได้ระหว่างงวดหากไม่ได้ตรวจนับ
การเปิดคำนวณต้นทุนขาย
เป็นการตั้งค่าสินค้าให้คำนวณต้นทุนขายเพื่อราคาต้นทุนอย่างต่อเนื่องและนำไปใช้ในการตั้งราคาสินค้าได้อย่างถูกต้องตลอดเวลา
ข้อดี : ทราบยอดต้นทุนขายและจำนวนสินค้าคงเหลือตลอดเวลา
ข้อเสีย : รับรู้ยอดคงเหลือและคำนวณต้นทุนขายทุกครั้งที่สินค้ามีการเคลื่อนไหว