Skip to main content
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ E-tax invoice (NS044)
Black Phurich avatar
Written by Black Phurich
Updated over 2 months ago

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ E-tax invoice

สามารถคลิกที่หัวข้อคำถามด้านล่างนี้ เพื่อดูรายละเอียดคำถามที่พบบ่อย

Q1: ระบบ PEAK รองรับ e-Tax หรือไม่

ทาง PEAK รองรับการจัดส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax) 2 แบบ 😊

​แบบที่ 1 : ระบบ e-Tax invoice by Time Stamp

ทาง PEAK จะเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูล

แนะนำให้ทำการลงทะเบียนกับทางกรมสรรพากร ด้วยอีเมลที่เป็น Gmail หรืออีเมลบริษัทที่ใช้บริการ G Suit

ดูรายละเอียด และการยื่นขอการใช้งาน กับทางกรมสรรพากรได้ตาม Link นี้

​แบบที่ 2 : ระบบ e-Tax invoice & e-Receipt

ทาง PEAK จะทำการเชื่อมต่อกับระบบ INET ให้เป็นตัวกลาง (service provider) ในการนำส่งข้อมูล

ถ้าสนใจใช้บริการผ่านระบบ INET สามารถกดคลิกที่นี่ เพื่อลงทะเบียนข้อมูลให้ทาง INET ติดต่อกลับ

Q2: ระบบ e-Tax invoice by Time Stamp และ ระบบ e-Tax invoice & e-Receipt แตกต่างกันอย่างไร

ดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมกด คลิกที่นี่

หมายเหตุ: ทางผู้ประกอบจะต้องเลือกใช้ระบะใดระบบหนึ่ง

Q3: กรณีที่รายได้เกิน 30 ล้านบาท/ปี สามารถใช้ระบบ e-Tax invoice by Time Stamp ได้หรือไม่

ทางสรรพากรมีการปรับนโยบายใหม่ในปี 2567 โดยอนุญาตให้ผู้ประกอบการที่มีรายได้เกิน 30 ล้านบาท/ปี สามารถลงทะเบียนขอใช้งาน e-Tax invoice by Time Stamp ได้

  • หากต้องการใช้งาน e-Tax invoice by time stamp ให้เข้าที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร Link: https://www.rd.go.th/27659.html

เพื่อกรอกแบบ ก.อ.01 เข้ายื่นคำขออนุมัติเข้ามา แล้วทางกรมสรรพากรพื้นที่จะพิจารณาการอนุมัติอีกครั้ง

Q4: กิจการใช้งานระบบ e-Tax invoice by Time Stamp อยู่แล้ว แต่รายได้ในปีนั้นเกิน 30 ล้านบาท/ปี จะต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบ e-Tax invoice & e-Receipt หรือไม่

ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนระบบการใช้งาน สามารถใช้งาน e-Tax invoice by Time Stamp ต่อไปได้

  • แต่ในอนาคต ถ้าต้องการส่ง e-Receipt จะต้องติดต่อกับกรมสรรพากรพื้นที่เพื่อทำเรื่องใช้งานเปลี่ยนใช้ระบบ e-Tax invoice & e-Receipt

Q5: กิจการไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถใช้ระบบ e-Tax invoice ได้ไหม

ใช้ได้ โดยลงทะเบียนใช้เป็นระบบ e-Tax invoice & e-Receipt เพื่อจะได้ส่งเป็นใบรับ / e-Receipt (ใบเสร็จรับเงิน) ให้แก่ลูกค้า

  • แต่การเข้าร่วมโครงการ EASY E-Receipt สำหรับการลดหย่อนภาษี รายการที่จะสามารถนำมาลดหย่อนได้คือ

    1. ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร

    2. ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

    3. ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน

Q6: ใบกำกับภาษีแบบใด ที่สามารถกดส่ง e-Tax invoice ได้

ข้อมูลใบกำกับภาษีจะต้องเป็นแบบเต็มรูปแบบ ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร

Q7: จำเป็นต้องกดส่ง e-Tax invoice ใบกำกับภาษีทุกใบหรือไม่

ไม่จำเป็น ทางผู้ออกใบกำกับภาษี สามารถเลือกที่จะจัดส่งใบกำกับภาษีในรูปแบบกระดาษ หรือรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ในข้อที่ ๑๒

Q8: ถ้าส่ง e-Tax invoice แล้ว จะเป็นยื่นแบบ ภ.พ.30 กับกรมสรรพากรหรือไม่

ยังต้องการนำส่งภาษี ทางผู้ออก หรือผู้รับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ยังคงต้องนำส่งข้อมูลแบบ ภ.พ.30 เป็นรายเดือนให้แก่กรมสรรพากร ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ในข้อที่ ๑๕

Q9: EASY E-Receipt คืออะไร นำมาลดหย่อนอะไรได้บ้าง

EASY E-Receipt คือ โครงการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 ที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้มีเงินได้ บุคคลธรรมดาเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2567 โดยจำนวนเงินสูงสุดที่สามารถนำมาลดหย่อนได้คือ 50,000 บาทโดยเอกสารที่นำมาลดหย่อนได้จะเป็นใบกำกับภาษี หรือ ใบเสร็จรับเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น

จะไม่สามารถใช้ใบกำกับภาษีในรูปแบบกระดาษได้

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่ และดู Q&A มาตรการของการใช้งาน EASY E-Receipt ได้ ที่นี่

Q10: ฐานข้อมูลที่อยู่กิจการจะดึงมาจากไหน สามารถแก้ไขหน้าพิมพ์แล้วส่งสรรพากรได้ไหม

การสร้างฐานข้อมูลที่อยู่จะดึงมาจากหน้าข้อมูลกิจการ ตรงที่อยู่ตามทะเบียนเท่านั้น

หากมาเปลี่ยนที่อยู่บนเอกสารก่อนกดส่ง e-Tax Invoice ตรงนี้ ระบบจะไม่ได้ดึงข้อมูลตรงนี้ไป สร้างฐานที่อยู่ที่จะส่งไปสรรพากรให้




วิธีการตรวจสอบการส่ง E-tax invoice กรณีส่งแล้วพบข้อผิดพลาด

สามารถคลิกที่หัวข้อคำถามด้านล่างนี้ เพื่อดูรายละเอียดคำถามที่พบบ่อย

Q1: e-Tax Invoice by Time stamp (by Email )กับ e-Tax Invoice & e-Receipt ไม่ได้ประทับรับรองทางเวลา โดยรายละเอียดในอีเมลแจ้ง The response from the remote server was: 550 Invalid

รายละเอียดในอีเมลแจ้งว่า "The response from the remote server was: 550 Invalid" ในส่วนนี้ทาง Etda รับทราบปัญหา และกำลังดำเนินการแก้ไขให้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

ช่องทางการติดต่อ Etda

  • Tel: 02-026-6933 , 081-009-3211

  • E-Mail: support-center@etda.or.th

Q2: e-Tax Invoice by Time stamp (by email) ไม่ได้ประทับรับรองทางเวลา รายละเอียดในอีเมลแจ้ง Domain ที่ท่านใช้บริการอีเมล ยังไม่มีความน่าเชื่อถือ

สาเหตุเกิดจาก : อีเมล์ที่ใช้ส่ง E-TAX ยังไม่ได้ทำการลงทะเบียนอีเมล์กับทาง Etda สามารถติดต่อเพื่อขอรายละเอียดการลงทะเบียนกับทาง Etda ได้ตามข้อมูลด้านล่างนี้

ส่ง e-Tax Invoice by Time stamp (by email)ไม่ได้ประทับรับรองทางเวลา เพราะ XML ภายใน PDF/A-3 ไม่ถูกต้อง

สาเหตุเกิดจาก : ระบุข้อมูลผู้ติดต่อที่หน้าเอกสารไม่ถูกต้อง เช่น ในช่องเบอร์ติดต่อมีการระบุอักขระพิเศษ, ข้อมูลผู้ติดต่อที่ไม่ได้ทำการระบุเลขผู้เสียภาษี 13 หลัก เป็นต้น

Q3: ระบบ PEAK ยึดข้อมูล Email ผู้จัดส่ง e-Tax Invoice เป็น Email ใดในส่วนของเมนูตั้งค่า

สำหรับกิจการที่ใช้งาน e-Tax Invoice by Time stamp (by email)

  • ระบบ PEAK จะใช้ข้อมูล Email ที่มีการตั้งค่าเชื่อมต่อกับ PEAK ไว้ที่เมนู e-Tax Invoice

    > Google เป็น Email ของผู้ส่งเอกสาร

สำหรับกิจการที่ใช้งาน e-Tax Invoice by INET

  • ระบบ PEAK จะใช้ข้อมูล Email ที่มีการตั้งค่าเป็นเป็น "อีเมลกลาง" ที่ระบุไว้ในเมนูตั้งค่า > ตั้งค่าองค์กร > ข้อมูลกิจการ เป็น Email ของผู้ส่งเอกสาร

- จบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ E-tax invoice -

คู่มืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน e-Tax invoice

Did this answer your question?