Skip to main content
All Collectionsจัดการสินทรัพย์ (PEAK Asset)ซื้อสินทรัพย์
วิธีการบันทึกค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินสำหรับ SMEs ไทย เพื่อการลดหย่อนภาษี ณ วันที่ได้รับสินทรัพย์ 40% ส่วนที่เหลือทยอยหัก 3 รอบระยะเวลาบัญชี (PA021)
วิธีการบันทึกค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินสำหรับ SMEs ไทย เพื่อการลดหย่อนภาษี ณ วันที่ได้รับสินทรัพย์ 40% ส่วนที่เหลือทยอยหัก 3 รอบระยะเวลาบัญชี (PA021)

(PA021)

Updated over a year ago

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามประกาศข้อมูลจากกรมสรรพากรว่าด้วยเรื่อง ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินสำหรับ SMEs ไทย

วิธีการบันทึกจะทำที่ New PEAK และ PEAK Asset โดยแต่ละที่มีขั้นตอนดังนี้

ค่าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระยะเวลาการใช้งานไม่เกิน 5 ปี จะหักค่าเสื่อม ราคาเบื้องต้นในวันที่ได้รับทรัพย์สินในอัตรา 40% ของมูลค่าทรัพย์สิน ส่วนที่เหลือทยอยหักภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชี

ตัวอย่าง

วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2020 บริษัท ซื้อมา - ขายไป จำกัด ซื้อโน๊ตบุ๊คราคา 20,000 บาท (ราคาก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ขั้นตอนการบันทึก

1. ขั้นตอนการบันทึกที่ New PEAK

ขั้นตอนที่ 1 การบันทึกซื้อสินทรัพย์โน๊ตบุ๊ค

จากตัวอย่าง บันทึกซื้อสินทรัพย์โน๊ตบุ๊ค 20,000 บาท

ขั้นตอนที่ 1.1 : เข้าที่เมนูบันทึกรายการจ่าย > สร้าง > จากนั้นกรอกข้อมูลตามที่ต้องการ

ขั้นตอนที่ 1.2. : การชำระเงิน

  • ถ้ามีการชำระเงิน ให้ระบุวันที่และช่องทางการชำระเงิน

  • แต่หากยังไม่ชำระ ต้องการตั้งเจ้าหนี้ให้กดปุ่ม "ยังไม่ชำระเงิน (ตั้งหนี้ไว้ก่อน)

เมื่อระบุข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จากนั้นกด "อนุมัติบันทึกค่าใช้จ่าย"

ขั้นตอนที่ 1.3. : ตัวอย่างการบันทึกบัญชี (กรณีไม่ได้ตั้งเจ้าหนี้)

ขั้นตอนที่ 2. : บันทึกบันทึกค่าเสื่อมราคา 40% ณ วันที่ได้รับสินทรัพย์มาที่สมุดรายวัน

เนื่องจากการบันทึกค่าเสื่อมราคาสะสมยกมาที่ PEAK Asset ไม่ได้มีการบันทึกบัญชีดังนั้นเราจึงต้องทำการบันทึกค่าเสื่อมราคาเองที่โดยมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 2.1 : เข้าที่เมนูบัญชี > บัญชีรายวัน > +สร้างสมุดรายวันทั่วไป

ขั้นตอนที่ 2.3 : ระบุข้อมูลค่าเสื่อมราคา 40% ณ วันที่ได้รับสินทรัพย์มา เมื่อกรอกเรียบร้อยแล้วกดปุ่ม "อนุมัติรายการ"

จากตัวอย่าง บันทึกซื้อสินทรัพย์โน๊ตบุ๊ค 20,000 บาท ค่าเสื่อมราคา 40% เท่ากับว่าวันที่ 14/03/2020 บันทึกค่าเสื่อมราคาได้ 8,000 บาท

2. ขั้นตอนการบันทึกที่ PEAK Asset

ขั้นตอนที่ 3 : เพิ่มกลุ่มสินทรัพย์นั้น ๆ (หากมีการเพิ่มไว้แล้วสามารถข้ามขั้นตอนนี้ได้เลย)

ขั้นตอนที่ 3.1. : กดคลิกปุ่ม Application Center เลือก PEAK Asset

ขั้นตอนที่ 3.2. : ที่เมนูทะเบียนสินทรัพย์ ให้กดปุ่ม + เพิ่มกลุ่มสินทรัพย์

ขั้นตอนที่ 3.3. : ระบุข้อมูลกลุ่มสินทรัพย์ ตามที่ต้องการ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้

1. หมวดหมู่

2. ข้อมูลทั่วไป

3. ข้อมูลการบันทึกบัญชี

3.1 ผังบัญชีสินทรัพย์ บัญชีค่าเสื่อมราคา และบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม จะต้องตรงกับผังบัญชีที่ระบุตาม ขั้นตอนที่ 1 การบันทึกซื้อสินทรัพย์โน๊ตบุ๊ค และขั้นตอนที่ 2 บันทึกค่าเสื่อมราคา 40% ณ วันที่ได้รับสินทรัพย์มาที่สมุดรายวัน

3.2 อายุการใช้งาน(ปี) ค่าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระยะเวลาการใช้งานไม่เกิน 5 ปี จะหักค่าเสื่อม ราคาเบื้องต้นในวันที่ได้รับทรัพย์สินในอัตรา 40% ของมูลค่าทรัพย์สิน ส่วนที่เหลือทยอยหักภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชี > ดังนั้นให้เลือกระบุอายุการใช้งานเป็น 3 ปี เพื่อให้ระบบคำนวณค่าเสื่อมทั้งหมดภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีเมื่อระบุข้อมูลกลุ่มสินทรัพย์เรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่ม "เพิ่ม" ทางมุมขวามือล่าง

ขั้นตอนที่ 3.4. : เมื่อสร้างกลุ่มสินทรัพย์เรียบร้อยแล้วข้อมูลจะแสดงที่ทะเบียนสินทรัพย์ตามรูปด้านล่าง

ขั้นตอนที่ 4 : บันทึกสินทรัพย์ โดยหักค่าเสื่อมราคา 40% ณ วันที่ได้รับสินทรัพย์มา ที่ PEAK Asset

ขั้นตอนที่ 4.1. : กดคลิกที่รหัสกลุ่มสินทรัพย์

ขั้นตอนที่ 4.2. : ในกลุ่มสินทรัพย์ ให้กดปุ่มทำรายการ > เลือก บันทึกสินทรัพย์ยกมา

ขั้นตอนที่ 4.3. : ระบุข้อมูลสินทรัพย์

  • วันที่ซื้อสินทรัพย์ > ระบุวันที่ซื้อสินทรัพย์

  • วันที่เริ่มใช้ PEAK คิดค่าเสื่อม > ระบุวันที่ต้องการให้ระบบคิดค่าเสื่อม

  • มูลค่าสินทรัพย์ > ระบุมูลค่าสินทรัพย์ก่อนภาษี (กิจการที่ไม่ได้จด VAT สามารถระบุได้ทั้งจำนวน)

  • ค่าเสื่อมราคาสะสมยกมา > ณ วันที่ได้รับสินทรัพย์มา สามารถคิดค่าเสื่อมราคาได้ 40% โดยนำ มูลค่าสินทรัพย์ คูณ ด้วย 40% (20,000 * 40% = 8,000 บาท ตัวเลขจะเท่ากับ ขั้นตอนที่ 2. : บันทึกบันทึกค่าเสื่อมราคา 40% ณ วันที่ได้รับสินทรัพย์มาที่สมุดรายวัน)เมื่อกรอกข้อมูลแล้วกดปุ่ม "ยืนยัน"

ตัวอย่างหลังระบุข้อมูลเรียบร้อยแล้ว

ขั้นตอนที่ 4.4. : ตรวจสอบการบันทึกค่าเสื่อมราคาส่วนที่เหลือ

กดเข้าที่เลขที่สินทรัพย์ > เลือกหัวข้อค่าเสื่อมราคา

  • หน้าค่าเสื่อมราคาจะแสดงข้อมูลค่าเสื่อมราคาทุกเดือน การบันทึกบัญชีค่าเสื่อมราคาจะบันทึกทุกวันที่ 1 ของเดือนถัด ๆ ไป

  • การคิดค่าเสื่อมราคาระบบจะคำนวณวันค่าเสื่อมตามวันที่แสดงในปฏิทินในอนาคต(ยังไม่ได้มีการลงบัญชี) ดังนั้นในแต่ละเดือนค่าเสื่อมจะเกิดขึ้นไม่เท่ากัน เช่น เดือนกุมภาพันธ์ที่บางปีมี 28 วัน บางปีมี 29 วัน

- จบขั้นตอนวิธีการบันทึกค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินสำหรับ SMEs ไทย เพื่อการลดหย่อนภาษี -

Did this answer your question?