การบันทึกตัดสินค้าเพราะชำรุดเสียหาย คืออะไร อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
การบันทึกตัดสินค้าเพราะชำรุดเสียหาย คืออะไร อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
การตัดสินค้าเพราะชำรุดเสียหาย คือ การตัดจ่ายของเสียเกินปกติที่เกิดจากกระบวนการผลิต สินค้าเสื่อมคุณภาพ สินค้ามีตำหนิสินค้าหมดสมัยนิยม สินค้าหมดอายุ และเศษซากในรอบบัญชี ให้เป็นไปตามข้อกำหนด แนวทางปฏิบัติ กรณีการทำลายของเสีย สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิสินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ และเศษซาก ของทางกรมสรรพากร
การตัดสินค้าเพราะชำรุดเสียหาย จะมีแนวทางการบันทึกบัญชีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวิธีที่กิจการต้องการใช้จัดการกับสินค้า โดยจะต้องเป็นไปตาม ข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติของทางกรมสรรพากร
ข้อมูลเพิ่มเติมจากสรรพากร ที่ใช้ในการจัดทำคู่มือฉบับนี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
กรณีใช้งานโปรแกรม PEAK แนะนำการบันทึกบัญชีได้ 3 รูปแบบตามวิธีการจัดการดังนี้
วิธีจัดการที่ 1 : กรณีนำสินค้าที่ชำรุดส่งคืนให้กับผู้ขาย (Supplier)
วิธีจัดการที่ 1 : กรณีนำสินค้าที่ชำรุดส่งคืนให้กับผู้ขาย (Supplier)
กรณีกิจการขายสินค้า มีนโยบายรับคืน/รับเคลม (Claim) สินค้าที่ชำรุดเสียหายจากลูกค้า โดยกิจการเองมีหนังสือสัญญาในการส่งคืน/ส่งเคลม (Claim) กับทางผู้ขาย (Supplier) ด้วย
หากสินค้าที่ชำรุดเสียหายมีเงื่อนไขตรงกับสัญญาที่ได้ทำกับผู้ขาย (Supplier) สามารถแจ้งขอเอกสารใบลดหนี้จากทางผู้ขาย (Supplier) และส่งคืนสินค้าให้กับทางผู้ขาย (Supplier) ได้
โดยหน้าที่ในการจัดการสินค้าชำรุดเสียหายตามข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติของทางสรรพากร จะตกเป็นของผู้ขาย (Supplier) แทน
ส่วนกิจการเอง จะต้องจัดทำใบลดหนี้ เพื่อรับคืนสินค้า หรือเปลี่ยนสินค้าให้กับลูกค้าของตนเองเช่นกัน
สามารถบันทึกรับคืนสินค้าจากลูกค้า และส่งคืนสินค้าให้กับผู้ขายได้ดังนี้
ตัวอย่าง : กิจการขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตมาเพื่อขาย มีการขายออกและได้ออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีให้ลูกค้าแล้ว ต่อมาลูกค้าแจ้งขอคืนสินค้าเนื่องจากสินค้าชำรุดเสียหาย
สินค้าที่ขาย : หม้อหุงข้าว 1 เครื่อง ราคาขาย 2,000 บาท/ราคาทุน 1,500 บาท
ขั้นตอนที่ 1 : การออกใบลดหนี้รับคืนสินค้า และคืนเงินให้ลูกค้า
เข้าสู่เอกสารใบกำกับภาษี ตามตัวอย่างเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี > กดปุ่ม "ตัวเลือก" > เลือก "ออกใบลดหนี้"
ระบุสาเหตุของการลดหนี้ และระบุข้อมูล "รับคืนสินค้า" > ระบุรายละเอียดจำนวนสินค้าและราคาที่รับคืนให้ครบถ้วน
ระบุช่องทางการเงินของกิจการ ที่ใช้จ่ายเงินคืนให้กับลูกค้า > กด "อนุมัติใบลดหนี้"
ตัวอย่างสต็อกสินค้า : หลังออกใบลดหนี้ให้ลูกค้า
กรณีกิจการไม่ได้คืนเงินให้ลูกค้า แต่เปลี่ยนเคลม (Claim) สินค้าใหม่ให้ ดูวิธีบันทึกเพิ่มเติมที่นี่
กรณีกิจการไม่ได้คืนเงินให้ลูกค้า แต่เปลี่ยนเคลม (Claim) สินค้าใหม่ให้ ดูวิธีบันทึกเพิ่มเติมที่นี่
ขั้นตอนการจ่ายชำระใบลดหนี้ กดเลือก "ค่าธรรมเนียม หรือรายการปรับปรุง"
ปรับปรุง : เลือก "หักเงินที่ต้องจ่าย"
ปรับปรุงด้วยบัญชี : เลือกผังบัญชีที่ต้องการปรับปรุงยอดเงินไว้ก่อน ตามตัวอย่างใช้ ผังบัญชี "999999 - บัญชีพัก" เพื่อพักยอดเงินไว้ตัดชำระกับสินค้าตัวใหม่ที่เปลี่ยนให้
จำนวนเงินที่ปรับปรุง : ระบุจำนวนเงินเท่ากับมูลค่าสุทธิของเอกสาร
หมายเหตุ : ระบุข้อมูลเพิ่มเติมได้
ปรับปรุงเอกสารตามตัวอย่างด้านล่างนี้เพื่อพักยอดจ่ายไว้ ตัดกับสินค้าที่เคลมให้ลูกค้า
บันทึกใบเสร็จรับเงิน เพื่อตัดสต็อกสินค้าชิ้นใหม่ และเพื่อเป็นหลักฐานการเคลม (Claim)
บันทึกรับชำระเงินแบบขั้นสูง > ให้ตัดชำระยอดสินค้าชิ้นใหม่ กับผังบัญชีที่ลงบันทึกไว้ในขั้นตอนการชำระเงินของใบลดหนี้
ตัวอย่างสต็อกสินค้า : ระบบจะตัดสต็อกสินค้าจาก Lot ล่าสุดที่มีจำนวนสินค้าคงเหลือให้
ขั้นตอนที่ 2 : การบันทึกรับใบลดหนี้ เพื่อบันทึกคืนสินค้าให้กับคู่ค้า
ขั้นตอนนี้กิจการจะต้องแจ้งขอใบลดหนี้สินค้าที่ชำรุดจากคู่ค้ามาก่อน
เข้าสู่เอกสารบันทึกซื้อสินค้าที่บันทึกไว้ก่อนหน้านั้น กดปุ่มตัวเลือก > เลือก "รับใบลดหนี้"
ระบุสาเหตุของการลดหนี้ และระบุข้อมูล "คืนสินค้า" > ระบุรายละเอียดจำนวนสินค้าและราคาที่ส่งคืนผู้ขายให้ครบถ้วน
ระบุช่องทางการเงินของกิจการ ที่ผู้ขายชำระค่าสินค้าคืนให้ > กด "อนุมัติรับใบลดหนี้"
ตัวอย่างสต็อกสินค้า : หลังบันทึกคืนสินค้าให้ผู้ขาย
กรณีผู้ขายไม่ได้ชำระเงินคืน แต่ส่งสินค้าใหม่มาเปลี่ยนให้ ดูวิธีบันทึกเพิ่มเติมที่นี่
กรณีผู้ขายไม่ได้ชำระเงินคืน แต่ส่งสินค้าใหม่มาเปลี่ยนให้ ดูวิธีบันทึกเพิ่มเติมที่นี่
ขั้นตอนรับชำระเงินใบรับลดหนี้ กดเลือก "ค่าธรรมเนียม หรือรายการปรับปรุง"
ปรับปรุง : เลือก "หักเงินที่ต้องรับ"
ปรับปรุงด้วยบัญชี : เลือกผังบัญชีที่ต้องการปรับปรุงยอดเงินไว้ก่อน ตามตัวอย่างใช้ ผังบัญชี "999999 - บัญชีพัก" เพื่อพักยอดเงินไว้ตัดชำระกับสินค้าตัวใหม่ที่เปลี่ยนให้
จำนวนเงินที่ปรับปรุง : ระบุจำนวนเงินเท่ากับมูลค่าสุทธิของเอกสาร
หมายเหตุ : ระบุข้อมูลเพิ่มเติมได้
ปรับปรุงเอกสารตามตัวอย่างด้านล่างนี้เพื่อพักยอดสินค้าไว้ รอตัดกับสินค้าใหม่
เมื่อผู้ขายส่งสินค้าใหม่มาให้ สามารถบันทึกได้ที่ "บันทึกซื้อสินค้า"
บันทึกจ่ายชำระเงินแบบขั้นสูง > สำหรับสินค้าที่ได้รับเปลี่ยนคืน ให้ตัดชำระกับผังบัญชีที่ลงบันทึกไว้ในขั้นตอนการชำระเงินของรับใบลดหนี้
ตัวอย่างสต็อกสินค้า : กรณีผู้ขายเปลี่ยนสินค้าใหม่ให้ สินค้าที่ได้รับเปลี่ยนจะเป็น Lot ใหม่
วิธีจัดการที่ 2 : กรณีนำสินค้าชำรุด ขายออกในราคาต่ำกว่าราคาต้นทุน
วิธีจัดการที่ 2 : กรณีนำสินค้าชำรุด ขายออกในราคาต่ำกว่าราคาต้นทุน
กรณีกิจการมีนโยบายนำสินค้าชำรุดกลับมาขายใหม่ เช่น ขายอะไหล่, ขายมือสอง กิจการมีความสามารถในการซ่อมแซมสินค้าให้กลับมาสมบูรณ์ หรือ สินค้าใกล้สิ้นอายุแต่กิจการไม่ต้องการทำหนังสือแจ้งขอทำลายสินค้า จึงยอมขายในราคาต่ำกว่าทุน
การขายในราคาต่ำกว่าต้นทุน ไม่เป็นการทำลายสินค้า แต่เป็นการโอนทรัพย์สิน โดยมี
ค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด ให้ดำเนินการดังนี้
ต้องมีการตรวจสอบสภาพสินค้าตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนดไว้ และได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจในการพิจารณาให้เป็นสินค้าใกล้หมดอายุ หมดอายุ ไม่ได้มาตรฐาน หรือเศษซากดังกล่าว
ต้องมีบุคคลร่วมสังเกตการณ์ ประกอบด้วยฝ่ายคลังสินค้าและฝ่ายบัญชี โดยลงลายมือชื่อเป็นพยานในการขาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี และได้ขายสินค้าไปในราคาต่ำกว่าต้นทุน
หากดำเนินการดังนี้ ถือได้ว่าบริษัทฯ โอนทรัพย์สินโดยมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด โดยมีเหตุอันสมควร ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น บริษัทฯ ไม่จำเป็นต้องให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับรองอีกแต่ประการใด
สามารถบันทึกตัดสินค้าชำรุด และนำกลับมาขายใหม่ได้ดังนี้
ตัวอย่าง : กิจการเป็นร้านแว่น มีการตัดแว่นตามการสั่งทำจากลูกค้า ออกใบกำกับภาษีแล้ว เมื่อลูกค้านำไปใช้งานจริงพบว่าตัวเลนส์ไม่เข้ากับสายตา ทางร้านจึงรับคืนเลนส์เดิมมาเก็บไว้ขายให้กับลูกค้าท่านอื่นที่มีค่าสายตาเหมาะสมแทน
สินค้าที่ขาย : เลนส์แว่นสายตา 1 ชิ้น ราคาขาย 3,000 บาท/ราคาทุน 1,500 บาท
เนื่องจากกิจการจะรับสินค้าที่ชำรุดคืนมาก่อนเพื่อรอขายต่อ แนะนำให้แยกสินค้านี้ออกจากสต็อกเดิม โดยสร้างผังบัญชีใหม่สำหรับบันทึกบัญชี และสร้างรหัสสินค้าใหม่ก่อนลดหนี้
ดูวิธีสร้างผังบัญชี และการผูกผังบัญชีที่สินค้าใหม่ คลิกที่นี่
ดูวิธีสร้างผังบัญชี และการผูกผังบัญชีที่สินค้าใหม่ คลิกที่นี่
1. เข้าสู่เมนูบัญชี > ผังบัญชี > กด"+ เพิ่มบัญชี" > ระบุข้อมูลผังบัญชีเป็นสินค้าคงเหลือตามตัวอย่าง สามารถตั้งชื่อผังบัญชีเป็นชื่อที่ต้องการใช้งานได้ จากนั้นกด "เพิ่มบัญชี"
ตามตัวอย่างจะใช้ชื่อผังบัญชี "สินค้ารอนำกลับมาขาย"
สร้างผังบัญชีที่ 2 สำหรับใช้โอนต้นทุนสินค้าที่รับคืนไปเป็นสินค้าชำรุด > ระบุข้อมูลผังบัญชีเป็นต้นทุนตามตัวอย่าง สามารถตั้งชื่อผังบัญชีเป็นชื่อที่ต้องการใช้งานได้ จากนั้นกด "เพิ่มบัญชี"
ตามตัวอย่างจะใช้ชื่อผังบัญชี "โอนเป็นสินค้าชำรุด"
2. เข้าสู่เมนูสินค้า > กด "+เพิ่มสินค้า" > ระบุชื่อและเลขที่สินค้าเป็นข้อมูลเดิมของสินค้าตัวนี้ > แนะนำให้ใส่ข้อมูลเพิ่มเติมที่เลขที่สินค้า เช่น คำว่า "รอขาย" ตามภาพ
กดปรับการเพิ่มสินค้าเป็น "ขั้นสูง" > ตั้งค่าข้อมูลการบันทึกบัญชี ระบุบัญชีซื้อเป็นผังบัญชีที่สร้างใหม่ ผังบัญชี "สินค้ารอนำกลับมาขาย" > กดบันทึกสินค้า
ตัวอย่างการตั้งชื่อ และรหัสสินค้าให้สอดคล้องกับข้อมูลเดิม
ขั้นตอนที่ 1 : การออกใบลดหนี้รับคืนสินค้า และคืนเงินให้ลูกค้า
เข้าสู่เอกสารใบกำกับภาษี ตามตัวอย่างเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี > กดปุ่ม "ตัวเลือก" > เลือก "ออกใบลดหนี้"
ระบุสาเหตุของการลดหนี้ และระบุข้อมูล "รับคืนสินค้า" > ระบุรายละเอียดจำนวนสินค้าและราคาที่รับคืนให้ครบถ้วน
กรณีที่ลดหนี้เฉพาะรายการ ตรงช่องลดหนี้ทุกรายการหรือไม่ ให้ระบุเป็น เฉพาะรายการ
ระบุช่องทางการเงินของกิจการ ที่ใช้จ่ายเงินคืนให้กับลูกค้า > กด "อนุมัติใบลดหนี้"
ตัวอย่างสต็อกสินค้า : หลังออกใบลดหนี้ให้ลูกค้า ให้ยึดวันที่รับคืนสินค้านี้ เป็นวันที่ในการโอนสินค้าชำรุด ในขั้นตอนถัดไป
ตัวอย่างการบันทึกบัญชี : จะมีการกลับรายการสินค้าสำเร็จรูป และต้นทุนขายให้
กรณีกิจการไม่ได้คืนเงินให้ลูกค้า แต่เปลี่ยนเคลม (Claim) สินค้าใหม่ให้ ดูวิธีบันทึกเพิ่มเติมที่นี่
กรณีกิจการไม่ได้คืนเงินให้ลูกค้า แต่เปลี่ยนเคลม (Claim) สินค้าใหม่ให้ ดูวิธีบันทึกเพิ่มเติมที่นี่
ขั้นตอนการจ่ายชำระใบลดหนี้ กดเลือก "ค่าธรรมเนียม หรือรายการปรับปรุง"
ปรับปรุง : เลือก "หักเงินที่ต้องจ่าย"
ปรับปรุงด้วยบัญชี : เลือกผังบัญชีที่ต้องการปรับปรุงยอดเงินไว้ก่อน ตามตัวอย่างใช้ ผังบัญชี "999999 - บัญชีพัก" เพื่อพักยอดเงินไว้ตัดชำระกับสินค้าตัวใหม่ที่เปลี่ยนให้
จำนวนเงินที่ปรับปรุง : ระบุจำนวนเงินเท่ากับมูลค่าสุทธิของเอกสาร
หมายเหตุ : ระบุข้อมูลเพิ่มเติมได้
ปรับปรุงเอกสารตามตัวอย่างด้านล่างนี้เพื่อพักยอดจ่ายไว้ ตัดกับสินค้าที่เคลมให้ลูกค้า
บันทึกใบเสร็จรับเงิน เพื่อตัดสต็อกสินค้าชิ้นใหม่ และเพื่อเป็นหลักฐานการเคลม (Claim)
เลือกรหัสสินค้าเป็นรหัสปกติที่ขายได้เลย
บันทึกรับชำระเงินแบบขั้นสูง > ให้ตัดชำระยอดสินค้าชิ้นใหม่ กับผังบัญชีที่พักยอดไว้ก่อนหน้า
ตัวอย่างสต็อกสินค้า : ระบบจะตัดสต็อกสินค้าจาก Lot ล่าสุดให้
ขั้นตอนที่ 2 : การโอนสินค้าที่รับคืน เป็นสินค้าชำรุดเพื่อรอนำกลับมาขายใหม่
ขั้นตอนที่ 2.1 : บันทึกใบเสร็จรับเงินเพื่อโอนสินค้าชำรุด
การโอนให้สร้างเอกสารใบเสร็จรับเงินจากขั้นตอนรับคืนสินค้าก่อนหน้า มีการรับคืนสินค้าวันที่ 05/04/2024 ให้ยึดวันที่นี้เป็นวันที่โอนสินค้า เพื่อให้ระบบตัดสต็อกสินค้าจาก Lot เดียวกัน ต้นทุนที่โอนจะได้เป็นยอดเดียวกันกับที่รับคืน
การบันทึกเอกสารนี้จะเป็นการประยุกต์ใช้ ให้ทำการสร้างผู้ติดต่อสำหรับบันทึกสินทรัพย์ชำรุดก่อนบันทึกเอกสาร
การสร้างเอกสารใบเสร็จรับเงิน ระบุข้อมูลบนเอกสารดังนี้
ระบุผู้ติดต่อเป็น ผู้ติดต่อสำหรับตัดสินค้าชำรุด
ระบุวันที่ออกเอกสารเป็นวันที่รับคืนสินค้า
ระบุรหัสสินค้าที่ต้องการโอนเป็นสินค้าชำรุด
ระบุผังบัญชี สำหรับโอนสินค้าที่สร้างเตรียมไว้ เพื่อเป็น Note หน้าเอกสาร
ระบุจำนวนสินค้า > ใส่ราคาเป็น 0 และภาษี เลือกเป็นไม่มี
เมื่อข้อมูลครบถ้วนแล้ว กด "อนุมัติใบเสร็จรับเงิน"
หลังอนุมัติใบเสร็จแล้ว > กดเข้าดูสมุดบัญชี เพื่อแก้ไขข้อมูลผังบัญชี
เมื่อเข้าสู่หน้าบัญชีรายวันแล้ว > กดแก้ไข
กดกากบาท(x) ลบแถวรายการที่เดบิต-เครดิตเป็น 0 ออก > จากนั้นเปลี่ยนผังบัญชีจาก "ต้นทุนขาย" เป็น "โอนเป็นสินค้าชำรุด" > กด"บันทึก" การแก้ไข
ผลกระทบของการประยุกต์แก้ไขสมุดบัญชีรายวัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ผลกระทบของการประยุกต์แก้ไขสมุดบัญชีรายวัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
สาเหตุที่ต้องแก้ไขบัญชีรายวันจาก "ต้นทุนขาย" เป็น "โอนเป็นสินค้าชำรุด"
เนื่องจากสินค้าตัวนี้ยังไม่ได้ขายออกอยู่ในช่วงกำลังรอนำกลับมาขาย เช่น รอซ่อมแซมเสร็จ รอนำมาขายมือสอง จึงยังไม่สามารถรับรู้ต้นทุนขายได้ จึงต้องปรับปรุงไว้ในบัญชีหมวดสินค้าคงเหลือก่อน
โดยคู่มือนี้ แนะนำให้สร้างผังบัญชีสินค้าคงเหลือ ชื่อ "โอนเป็นสินค้าชำรุด" สำหรับใช้แยกยอดของสินค้าตัวนี้ ออกจากสินค้าปกติที่จะอยู่ในผังบัญชี "สินค้าสำเร็จรูป"
ผลกระทบที่ 1 : กรณีพิมพ์รายงานสินค้าคงเหลือ สินค้าตัวนี้จะไม่มียอดในบัญชีต้นทุนขาย ยอดจะขาดไปเท่ากับยอดที่ปรับปรุง เนื่องจากถูกปรับปรุงเข้าผังบัญชี "โอนเป็นสินค้าชำรุด" แทน
ผลกระทบที่ 2 : กิจการจะไม่สามารถกดคำนวณต้นทุนขายสินค้านี้ใหม่ได้ เนื่องจาการคำนวณต้นทุนขายใหม่ ระบบจะบันทึกต้นทุนขายลงในผังบัญชีต้นทุนขายที่ผูกกับสินค้านั้นๆ ทำให้การปรับปรุงรายการที่ทำไว้ถูกยกเลิก
ตัวอย่างสมุดบัญชีรายวันหลังแก้ไข
ยอดต้นทุน ผังบัญชี "โอนสินค้าชำรุด" ให้ใช้ระบุเป็นราคาทุนของสินค้า "รอนำกลับมาขาย"
ตัวอย่างสต็อกสินค้า : หลังบันทึกตัดสินค้าชำรุดแล้ว จะมีการตัดสต็อกและต้นทุนใน Lot เดียวกัน
ขั้นตอนที่ 2.2 : บันทึกซื้อสินค้าเพื่อรับสต็อก รหัสสินค้าชำรุดรอนำกลับมาขาย
เมื่อสินค้าชำรุดสามารถนำกลับมาขายได้แล้ว สามารถบันทึกรับสต็อกของสินค้าที่เคยโอนเป็นสินค้าชำรุดกลับมารอขายได้โดยการบันทึกซื้อสินค้า
ขั้นตอนนี้แนะนำให้สร้างรหัสสินค้าประเภทบริการ เป็นรหัสหลอก(Dummy) สำหรับรองรับการปรับปรุงผังบัญชี
การสร้างรหัสสินค้าประเภทบริการ สำหรับใช้ปรับปรุงบัญชี สามารถดูวิธีสร้างเพิ่มเติมได้ที่นี่
การสร้างรหัสสินค้าประเภทบริการ สำหรับใช้ปรับปรุงบัญชี สามารถดูวิธีสร้างเพิ่มเติมได้ที่นี่
เข้าเมนูสินค้า > เลือกสินค้า/บริการ > กด"+ เพิ่มสินค้า/บริการ"
เลือกประเภท "บริการ" > ระบุชื่อ "ปรับปรุงสินค้าชำรุด" > กดบันทึก เพื่อสร้าง
วิธีนี้จะไม่กระทบกับสต็อก และไม่กระทบการบันทึกบัญชีสต็อก เนื่องจากรหัสบริการของระบบ PEAK จะไม่มีการคำนวณสต็อก
กดสร้างบันทึกซื้อสินค้า ระบุข้อมูลดังนี้
ระบุผู้ติดต่อเป็น ผู้ติดต่อสำหรับตัดสินค้าชำรุด
ระบุวันที่ออกเอกสารเป็นวันที่เดียวกับใบเสร็จรับเงินโอนสินค้า
ระบุรหัสสินค้าเป็นรหัสสินค้า สำหรับ "รอนำกลับมาขาย" ที่เตรียมไว้
ระบุจำนวนสินค้า > ใส่ราคาตามยอดผังบัญชี"โอนสินค้าชำรุด" ที่ระบบคำนวณให้ตอนบันทึกโอนสินค้า และภาษี เลือกเป็นไม่มี
เพิ่มรายการสำหรับปรับปรุงสินค้าชำรุด ดังนี้
กดปุ่ม "เพิ่มรายการใหม่" เพื่อเพิ่มบรรทัดสำหรับบันทึกรายการ
ระบุรหัสบริการที่เตรียมไว้ สำหรับปรับปรุงสินค้าชำรุด
เลือกผังบัญชี "โอนเป็นสินค้าชำรุด" เพื่อล้างยอดผังบัญชีที่บันทึกไว้ก่อนหน้า
ระบุจำนวนเงินเป็น ยอดติดลบ เท่ากับยอดของสินค้า
ยอดสุทธิรวมแสดงเป็น 0 บาท สามารถกด "อนุมัติบันทึกซื้อสินค้า" ได้
หลังอนุมัติบันทึกซื้อสินค้าแล้ว > กดเข้าดูสมุดบัญชี เพื่อแก้ไขข้อมูลผังบัญชี
เมื่อเข้าสู่หน้าบัญชีรายวันแล้ว > กดแก้ไข
กดเลือกผังบัญชีย่อยของผังบัญชี "โอนเป็นสินค้าชำรุด" ใหม่ > เลือกเป็นรหัสสินค้าเดิมของสินค้าที่นำกลับมาขาย เพื่อล้างยอดบัญชีสินค้าชำรุดที่เคยปรับปรุงไว้ออกจากสินค้าเดิม
ผลกระทบของการประยุกต์แก้ไขสมุดบัญชีรายวัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ผลกระทบของการประยุกต์แก้ไขสมุดบัญชีรายวัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
สาเหตุที่ต้องแก้ไขบัญชีรายวันโดยบันทึกเป็นรหัสบริการไว้ก่อน
เนื่องจากการบันทึกซื้อสินค้า ไม่สามารถระบุยอดเงินเป็นยอดติดลบได้ จึงต้องบันทึกลงรหัสบริการ
หากบันทึกรายการปรับปรุงลงที่รหัสสินค้า การบันทึกจะต้องใส่จำนวนอย่างน้อย 1 ชิ้น จะทำให้มีสินค้าที่รับกลับมาขายเกินจากความจริง 1 ชิ้น จึงต้องบันทึกลงรหัสบริการก่อนแล้วค่อยปรับปรุงบัญชีภายหลัง เพื่อไม่ให้กระทบกับสต็อกสินค้า
การบันทึกผังบัญชี หากเป็นบัญชีที่สร้างด้วยตนเองระบบจะไม่ให้ระบุผังบัญชีย่อย จึงต้องสร้างรหัสบริการมารับไว้ก่อน เพื่อให้สามารถระบุผังบัญชีย่อยเป็นสินค้าในภายหลังได้
ผลกระทบที่ 1 : กรณีพิมพ์รายงานสินค้าคงเหลือ สินค้าตัวเดิมจะไม่มียอดในบัญชีต้นทุนขาย ยอดจะขาดไปเท่ากับยอดที่ปรับปรุง เนื่องจากถูกปรับปรุงเข้าผังบัญชี "โอนเป็นสินค้าชำรุด" แทน แต่ยอดทางบัญชีของผัง "โอนเป็นสินค้าชำรุด" จะถูกล้างออกจากรหัสสินค้าเดิมโดยสมบูรณ์
ส่วนต้นทุนจะไปบันทึกที่สินค้าตัวใหม่ หลังจากขายสินค้าได้แล้วแทน
ผลกระทบที่ 2 : กิจการจะไม่สามารถกดคำนวณต้นทุนขายสินค้าตัวเดิมนี้ใหม่ได้ เนื่องจากการคำนวณต้นทุนขายใหม่ ระบบจะบันทึกต้นทุนขายลงในผังบัญชีต้นทุนขายที่ผูกกับสินค้านั้นๆ ทำให้การปรับปรุงรายการที่ทำไว้ถูกยกเลิก
ตัวอย่างสมุดบัญชีรายวันหลังแก้ไข
ตัวอย่างบัญชีแยกประเภท ผังบัญชี "โอนเป็นสินค้าชำรุด" เมื่อโอนสินค้าครบจำนวนยอดจะล้างเป็น 0
ตัวอย่างงบทดลองของผังบัญชี "โอนเป็นสินค้าชำรุด" จะเห็นได้ว่ามีการล้างยอดสินค้าที่ชำรุดออกจากผังบัญชี และล้างออกจากรหัสสินค้าตัวเดิมเป็น 0 แล้ว
ตัวอย่างงบทดลอง สินค้า"รอนำกลับมาขาย" จะมียอดคงเหลือแยกออกมาจากสินค้าปกติที่อยู่ในบัญชี "สินค้าสำเร็จรูป"
ตัวอย่างสต็อก ของสินค้า"รอนำกลับมาขาย" หลังบันทึกซื้อ (บันทึกรับโอนสินค้า)
ขั้นตอนที่ 3 : บันทึกขายสินค้าชำรุด
หากสินค้าชำรุดที่รับคืนไว้พร้อมขายแล้ว เช่น ขายมือสอง, ซ่อมแซมแล้วส่งคืนให้กับลูกค้าคนเดิม สามารถบันทึกรายการเป็นใบแจ้งหนี้หรือใบเสร็จรับเงิน เพื่อตัดขายสินค้าได้ตามปกติ
ตัวอย่างนี้จะเป็นการขายโดยออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี
เลือกสินค้ารหัส "รอขาย" มาทำรายการ > รับชำระเงิน และ "อนุมัติใบเสร็จรับเงิน"ได้
ตัวอย่างสต็อกสินค้า : หลังตัดขายสินค้าชำรุด
ตัวอย่างการบันทึกบัญชี : ระบบจะเครดิตบัญชีสินค้ารอนำกลับมาขายออก และบันทึกต้นทุนขาย
ตัวอย่างรายงานสินค้าคงเหลือของสินค้าที่นำกลับมาขายใหม่
สินค้าคงเหลือรหัสเดิมชิ้นที่ชำรุดจะไม่มีต้นทุนขาย เนื่องจากตัดเป็นรายการชำรุดแล้ว ต้นทุนจะเกิดอีกครั้งเมื่อขายสินค้ารหัส "รอขาย" ได้ โดยเวลานับสต็อกจะต้องรวมต้นทุนของสินค้ารอขายเข้าไปในต้นทุนของสินค้าปกติด้วย
วิธีจัดการที่ 3 : จัดทำหนังสือแจ้งขอทำลายสินค้าเหล่านี้ต่อกรมสรรพากร
วิธีจัดการที่ 3 : จัดทำหนังสือแจ้งขอทำลายสินค้าเหล่านี้ต่อกรมสรรพากร
กรณีกิจการมีสินค้าชำรุด หมดอายุ ไม่สามารถตัดขายได้แบบต่ำกว่าทุนได้ หรือมีนโยบายต้องทำลายทิ้งเท่านั้น
การทำลายสินค้า จะต้องทำหนังสือแจ้งขอทำลายสินค้าเหล่านี้ต่อกรมสรรพากร พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้สอบบัญชีเข้าสังเกตการณ์ด้วย ซึ่งสรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด (สาขา) อาจส่งเจ้าหน้าที่ไปดูการทำลายด้วยก็ได้ตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี
การบันทึกสินค้ารอทำลายบน PEAK แนะนำให้สร้างผังบัญชีใหม่สำหรับบันทึกบัญชีสินค้ารอทำลายไว้ก่อน
หากมีการรับคืนสินค้าจากลูกค้ามาก่อนแล้วเก็บไว้รอทำลาย คลิกที่นี่
หากมีการรับคืนสินค้าจากลูกค้ามาก่อนแล้วเก็บไว้รอทำลาย คลิกที่นี่
ตัวอย่าง : กิจการแปรรูปอาหารกระป๋อง ขายส่งให้กับร้านค้าทั่วไป มีสินค้าใกล้หมดอายุค้างคลัง หรือมีสินค้าชำรุดที่รับคืนจากร้านค้าด้วย เช่น กระป๋องบุบ/ทะลุเสียหายระหว่างขนส่ง จึงต้องตัดสต็อกหรือรับคืนสินค้าเป็นสินค้ารอทำลาย
สินค้าที่ขาย : เงาะกระป๋อง 1 กระป๋อง ราคาขาย 20 บาท/ราคาทุน 15 บาท
ขั้นตอนที่ 1 : การออกใบลดหนี้รับคืนสินค้า และคืนเงินให้ลูกค้า
เข้าสู่เอกสารใบกำกับภาษี ตามตัวอย่างเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี > กดปุ่ม "ตัวเลือก" > เลือก "ออกใบลดหนี้"
ระบุสาเหตุของการลดหนี้ และระบุข้อมูล "รับคืนสินค้า" > ระบุรายละเอียดจำนวนสินค้าและราคาที่รับคืนให้ครบถ้วน
ระบุช่องทางการเงินของกิจการ ที่ใช้จ่ายเงินคืนให้กับลูกค้า > กด "อนุมัติใบลดหนี้"
ตัวอย่างสต็อกสินค้า : หลังออกใบลดหนี้ให้ลูกค้า
ตัวอย่างการบันทึกบัญชี : จะมีการกลับรายการสินค้าสำเร็จรูป และต้นทุนขายให้
กรณีกิจการไม่ได้คืนเงินให้ลูกค้า แต่เปลี่ยนเคลม (Claim) สินค้าใหม่ให้ ดูวิธีบันทึกเพิ่มเติมที่นี่
กรณีกิจการไม่ได้คืนเงินให้ลูกค้า แต่เปลี่ยนเคลม (Claim) สินค้าใหม่ให้ ดูวิธีบันทึกเพิ่มเติมที่นี่
ขั้นตอนการจ่ายชำระใบลดหนี้ กดเลือก "ค่าธรรมเนียม หรือรายการปรับปรุง"
ปรับปรุง : เลือก "หักเงินที่ต้องจ่าย"
ปรับปรุงด้วยบัญชี : เลือกผังบัญชีที่ต้องการปรับปรุงยอดเงินไว้ก่อน ตามตัวอย่างใช้ ผังบัญชี "999999 - บัญชีพัก" เพื่อพักยอดเงินไว้ตัดชำระกับสินค้าตัวใหม่ที่เปลี่ยนให้
จำนวนเงินที่ปรับปรุง : ระบุจำนวนเงินเท่ากับมูลค่าสุทธิของเอกสาร
หมายเหตุ : ระบุข้อมูลเพิ่มเติมได้
ปรับปรุงเอกสารตามตัวอย่างด้านล่างนี้เพื่อพักยอดจ่ายไว้ ตัดกับสินค้าที่เคลมให้ลูกค้า
บันทึกใบเสร็จรับเงิน เพื่อตัดสต็อกสินค้าชิ้นใหม่ และเพื่อเป็นหลักฐานการเคลม(Claim)
เลือกรหัสสินค้าเป็นรหัสปกติที่ขายได้เลย
บันทึกรับชำระเงินแบบขั้นสูง > ให้ตัดชำระยอดสินค้าชิ้นใหม่ กับผังบัญชีที่พักยอดไว้ก่อนหน้า
ตัวอย่างสต็อกสินค้า : ระบบจะตัดสต็อกสินค้าจาก Lot ล่าสุดให้
การตัดสต็อกเป็นสินค้ารอทำลาย
ตัวอย่าง : กิจการแปรรูปอาหารกระป๋อง ขายส่งให้กับร้านค้าทั่วไป มีสินค้าใกล้หมดอายุค้างคลัง และมีสินค้าชำรุดที่รับคืนจากร้านค้าด้วย เช่น กระป๋องบุบ/ทะลุเสียหายระหว่างขนส่ง จึงต้องตัดสต็อกเป็นสินค้ารอทำลาย
โดยกิจการมีการนับสต็อกทุกสิ้นเดือน ในรอบนี้นับสต็อกวันที่ 30/05/2024 มีรายการสินค้าต้องทำลายดังนี้
เงาะกระป๋อง จำนวน 500 กระป๋อง ต้นทุนกระป๋องละ 15 บาท
ลำไยกระป๋อง จำนวน 1000 กระป๋อง ต้นทุนกระป๋องละ 10 บาท
โดยจะมีการนัดผู้สอบบัญชี และสรรพากรเข้าสังเกตการณ์ ในวันที่ 15/06/2024
ขั้นตอนที่ 1 : บันทึกใบเสร็จรับเงินเพื่อตัดสต็อกสินค้ารอทำลาย
การตัดสต็อกให้สร้างเอกสารใบเสร็จโดยระบุวันที่ออกเอกสารเป็นวันที่มีการตัดสต็อกสินค้า หรือวันที่นับสต็อกและคัดแยกสินค้าไว้รอทำลาย ตามตัวอย่างนี้คือวันที่ 30/05/2024
การบันทึกเอกสารนี้จะเป็นการประยุกต์ใช้ ให้ทำการสร้างผู้ติดต่อสำหรับบันทึกสินค้าชำรุดก่อนบันทึกเอกสาร
การสร้างเอกสารใบเสร็จรับเงิน ระบุข้อมูลบนเอกสารดังนี้
ระบุผู้ติดต่อเป็น ผู้ติดต่อสำหรับตัดสินค้าชำรุด
ระบุวันที่ออกเอกสาร เป็นวันที่ตัดสต็อกสินค้า
ระบุรหัสสินค้าที่ต้องการตัดเป็นสินค้ารอทำลาย
ระบุผังบัญชี สำหรับตัดสินค้ารอทำลาย ที่สร้างเตรียมไว้ เพื่อเป็น Note หน้าเอกสาร
ระบุจำนวนสินค้า > ใส่ราคาเป็น 0 และภาษี เลือกเป็นไม่มี
เมื่อข้อมูลครบถ้วนแล้ว กด "อนุมัติใบเสร็จรับเงิน"
หลังอนุมัติใบเสร็จแล้ว > กดเข้าดูสมุดบัญชี เพื่อแก้ไขข้อมูลผังบัญชี
เมื่อเข้าสู่หน้าบัญชีรายวันแล้ว > กดแก้ไข
กดกากบาท(x) ลบแถวรายการที่เดบิต-เครดิตเป็น 0 ออก > จากนั้นเปลี่ยนผังบัญชีจาก "ต้นทุนขาย" เป็น "สินค้ารอทำลาย" โดยต้องเปลี่ยนที่สินค้าทุกตัว > กด"บันทึก" การแก้ไข
ผลกระทบของการประยุกต์แก้ไขสมุดบัญชีรายวัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ผลกระทบของการประยุกต์แก้ไขสมุดบัญชีรายวัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
สาเหตุที่ต้องแก้ไขบัญชีรายวันจาก "ต้นทุนขาย" เป็น "สินค้ารอทำลาย"
เนื่องจากสินค้าตัวนี้ยังไม่ได้ถูกทำลาย อยู่ในช่วงตัดสต็อกและแจ้งเรื่องกับทางสรรพากร และนัดเชิญผู้เข้าสังเกตุการณ์ ดังนั้นยังไม่สามารถรับรู้ต้นทุนขายได้ จึงต้องปรับปรุงไว้ในบัญชีหมวดสินค้าคงเหลือก่อน
โดยคู่มือนี้ แนะนำให้สร้างผังบัญชีสินค้าคงเหลือ ชื่อ "สินค้ารอทำลาย" สำหรับใช้แยกยอดของสินค้าตัวนี้ ออกจากสินค้าปกติที่จะอยู่ในผังบัญชี "สินค้าสำเร็จรูป"
ผลกระทบที่ 1 : กรณีพิมพ์รายงานสินค้าคงเหลือ สินค้าตัวนี้จะไม่มียอดในบัญชีต้นทุนขาย ยอดจะขาดไปเท่ากับยอดที่ปรับปรุง เนื่องจากถูกปรับปรุงเข้าผังบัญชี "สินค้ารอทำลาย" แทน
ผลกระทบที่ 2 : กิจการจะไม่สามารถกดคำนวณต้นทุนขายสินค้านี้ใหม่ได้ เนื่องจากการคำนวณต้นทุนขายใหม่ ระบบจะบันทึกต้นทุนขายลงในผังบัญชีต้นทุนขายที่ผูกกับสินค้านั้นๆ ทำให้การปรับปรุงรายการรอทำลายที่ทำไว้ถูกยกเลิก
ตัวอย่างสมุดบัญชีรายวันหลังแก้ไข
ยอดต้นทุน ผังบัญชี "สินค้ารอทำลาย" จะใช้ระบุเป็นราคาทุนของสินค้าหลังทำลายสินค้าแล้ว
ตัวอย่างสต็อกสินค้า : ระบบจะตัดสต็อกสินค้ารอทำลายออกให้จาก Lot ล่าสุดที่สินค้ากำลังขายอยู่ และจะใช้ต้นทุนของ Lot นี้สำหรับบันทึกบัญชีด้วย
ขั้นตอนที่ 2.2 : บันทึกล้างสินค้ารอทำลาย โดยใช้สมุดบัญชีรายวัน
เมื่อมีการทำลายสินค้าแล้ว สามารถกลับรายการสินค้ารอทำลายเป็นต้นทุนขายได้ดังนี้
เข้าสู่ใบเสร็จรับเงิน ที่บันทึกตัดสต็อกสินค้าไว้ก่อนหน้า > กดเข้าดูสมุดบัญชี เพื่อแก้ไขข้อมูลผังบัญชี
เมื่อเข้าสู่หน้าบัญชีรายวันแล้ว > กดคัดลอก
หลังกดคัดลอก ระบบจะนำเข้าสู่หน้าสร้างสมุดบัญชีรายวัน โดยมีข้อมูลของเอกสารเดิมบันทึกรอไว้ให้ ให้ทำการแก้ไขดังนี้
ระบุวันที่บันทึกรายการ เป็นวันที่ทำลายสินค้า : ตามตัวอย่างนี้เป็นวันที่ 15/06/2024
ที่รายการผังบัญชี "สินค้ารอทำลาย" ให้ปรับยอดรายการจากเดิมที่อยู่ฝั่งเดบิต > ไประบุที่ฝั่งเครดิตแทน โดยใช้ยอดเดียวกันกับที่คัดลอกมาจากเอกสารเดิม
เมื่อปรับผังบัญชีสินค้ารอทำลายแล้ว ให้ปรับผังบัญชีสินค้าสำเร็จรูป > เป็นผังบัญชีต้นทุนขาย
โดยให้ระบุบัญชีย่อย เป็นรหัสสินค้า และปรับยอดจากเดิมในฝั่งเครดิต > เป็นเดบิต
เมื่อปรับข้อมูลผังบัญชีครบทุกคู่สินค้าแล้ว ให้กดบันทึกสมุดบัญชีรายวันได้
ตัวอย่างการบันทึกบัญชี หลังแก้ไข
ผลกระทบของการประยุกต์แก้ไขสมุดบัญชีรายวัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ผลกระทบของการประยุกต์แก้ไขสมุดบัญชีรายวัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
สาเหตุที่ต้องบันทึกสมุดบัญชีรายวันโดยการคัดลอกจากเอกสารเดิม
เพื่อให้บันทึกยอดต้นทุนได้ถูกต้อง โดยใช้ยอดจากเอกสารเดิมได้เลย ไม่ต้องคำนวณใหม่
เนื่องจากผังบัญชีที่ใช้บันทึกรายการเป็นผังบัญชีที่สร้างใหม่ หากบันทึกที่สมุดบัญชีรายวันโดยตรง ระบบจะไม่อนุญาตให้ระบุผังบัญชีย่อยเป็นรหัสสินค้า ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถล้างยอดบัญชีออกจากสินค้าที่ทำลายได้ จึงต้องคัดลอกจากสมุดบัญชีที่มีการใส่ข้อมูลบัญชีย่อยไว้ก่อนแล้ว
ผลกระทบที่ 1 : กรณีพิมพ์รายงานสินค้าคงเหลือ สินค้าที่ทำลายและกลับรายการเป็นต้นทุนขายแล้ว จะมีการแสดงต้นทุนขายบนรายงานสินค้าคงเหลือให้ด้วย
ผลกระทบที่ 2 : กิจการจะไม่สามารถกดคำนวณต้นทุนขายสินค้านี้ใหม่ได้ เนื่องจากการคำนวณต้นทุนขายใหม่ ระบบจะบันทึกต้นทุนขายลงในผังบัญชีต้นทุนขายที่ผูกกับสินค้านั้นๆ ทำให้การปรับปรุงรายการรอทำลายที่ทำไว้ถูกยกเลิก
ตัวอย่างบัญชีแยกประเภท ผังบัญชี "สินค้ารอทำลาย" เมื่อเมื่อบันทึกทำลายสินค้าครบจำนวนยอดจะล้างเป็น 0
ตัวอย่างงบทดลองของผังบัญชีสินค้ารอทำลาย หลังทำงานสินค้าแล้ว ระบบล้างยอดที่ผังบัญชีและสินค้าทั้งหมด
ตัวอย่างรายงานสินค้าคงเหลือ ต้นทุนขายสินค้าจะเท่ากันทั้งฝั่งสินค้า และฝั่งบัญชี
ตัวอย่างสต็อก ของสินค้ารอทำลาย เราตัดสต็อกตั้งแต่ขั้นตอนบันทึกตัดสต็อกสินค้ารอทำลาย ดังนั้นตอนบันทึกบัญชีรายวันเพื่อล้างสินค้าที่ทำลายแล้ว และไม่ให้สินค้ามีความเคลื่อนไหว เป็นการปรับยอดทางบัญชีเท่านั้น
- จบวิธีการบันทึกการบันทึกตัดสินค้าเพราะชำรุดเสียหาย -
คู่มืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกการบันทึกตัดสินค้าเพราะชำรุดเสียหาย