Skip to main content
ใบรับเงินมัดจำ (สำหรับ Package PRO Plus) (DR001)

Deposit Receipt

Jaja Supapit avatar
Written by Jaja Supapit
Updated this week

การรับเงินมัดจำ คืออะไร คลิกอ่านที่นี่

การรับเงินมัดจำ คือ การรับชำระเงินบางส่วนหนึ่งของราคาหรือมูลค่าของสินค้าหรือบริการ ซึ่งเงื่อนไขการรับชำระถือเป็นข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อเป็นการยืนยันการทำธุรกรรมหรือการซื้อขายในอนาคต

หมายเหตุ: ฟีเจอร์ใบรับเงินมัดจำอยู่ในแพ็กเกจ Trial (ทดลองใช้งาน), PRO Plus, Accountant, Enterprise และไม่รองรับการใช้งานบน Old PEAK


บันทึกรับเงินมัดจำ มีทั้งหมด 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1: สร้างใบเสนอราคา เพื่อใช้คุมยอดรวมของการขายครั้งนี้ทั้งหมด

ขั้นตอนที่ 2: สร้างใบรับเงินมัดจำ เพื่อบันทึกรับเงิน หรือแจ้งเก็บเงินมัดจำ

ขั้นตอนที่ 3: สร้างใบแจ้งหนี้ หรือใบเสร็จรับเงิน ส่วนที่เหลือ เพื่อบันทึกรับเงิน พร้อมบันทึกรายได้


ขั้นตอนที่ 1: สร้างใบเสนอราคา

ไปที่เมนู รายรับ > ใบเสนอราคา > กดปุ่ม + สร้าง

กรอกรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลลูกค้า, วันที่ออกเอกสาร, ข้อมูลสินค้า/บริการ ที่ขายสินค้า/บริการ เป็นต้น

สามารถเพิ่มข้อความในส่วนหมายเหตุสำหรับผู้ขาย กด "ย่อ/ขยาย" จากนั้นเพิ่มข้อมูลเงื่อนไขการชำระเงินในช่อง "หมายเหตุสำหรับลูกค้า" และกด “อนุมัติใบเสนอราคา”

การตกลงซื้อขาย

เมื่อลูกค้ามีการตอบรับใบเสนอราคา หรือ ตกลงในการซื้อขายสินค้า/บริการ กับทางกิจการเป็นที่เรียบร้อย ให้กด “+ตอบรับแล้ว” ที่ใบเสนอราคานั้น

ระบุวันที่ลูกค้ายอมรับ และกดปุ่มยืนยัน

ขั้นตอนที่ 2: สร้างและการรับชำระเงินใบรับเงินมัดจำ

1. การสร้างใบรับเงินมัดจำ


สามารถออกได้ 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1: การสร้างใบรับเงินมัดจำ โดยไม่อ้างอิงใบเสนอราคา

1. ไปที่เมนูรายรับ > ใบรับเงินมัดจำ > กดปุ่ม + สร้าง

2. กรอกรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลลูกค้า, วันที่ออกเอกสาร, ข้อมูลสินค้า/บริการ ที่ขายสินค้า/บริการ เป็นต้น

กรณีที่ 2: การสร้างใบรับเงินมัดจำ โดยอ้างอิงใบเสนอราคา

1. ไปเมนูรายรับ > ใบเสนอราคา > ยอมรับแล้ว

2. เลือกใบเสนอราคาที่ต้องการอ้างอิงไปออกใบรับเงินแบบมัดจำ

  • คอลัมน์คำสั่ง กดคลิกเครื่องหมาย Dropdown ปุ่มสร้างใบแจ้งหนี้ เลือก สร้างใบรับเงินมัดจำ

3. หน้าสร้างใบรับเงินมัดจำ ให้ระบุวันที่ออกเอกสาร, วันที่ครบกำหนด มี 2 กรณี

กรณีที่ 1 : ต้องการอธิบายการเก็บมัดจำแต่ละรายการ

  • ระบุรหัสสินค้า/บริการ (ระบบจะไม่มีตัดสต็อกสินค้า และรายการเคลื่อนไหวบริการ)

  • ระบุจำนวน 1 หน่วย และราคา/หน่วย แต่ละรายการที่เราต้องการเรียกเก็บเงินมัดจำ

กรณีที่ 2 : ไม่ต้องการอธิบายการเก็บมัดจำแต่ละรายการ

ให้กดปุ่ม + เพิ่มรายการใหม่

ระบุข้อมูลเงินมัดจำที่ต้องการเรียกเก็บ และอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องการ พร้อมคำอธิบายรายการ

กดลบ (ที่ไอคอนถังขยะ) ที่ท้ายรายการอื่น ๆ ที่เป็นรายการสินค้าออก

2. การรับชำระเงินใบรับเงินมัดจำ

สามารถออกได้ 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1: กรณีที่รับชำระเงิน

การออกใบกำกับภาษีขาย กดเปิด ออกใบกำกับภาษี เพื่อรับรู้ภาษีขาย

ระบุวันที่ และข้อมูลการรับชำระเงินที่ได้รับจากลูกค้า และกดอนุมัติใบรับเงินมัดจำ

ตัวอย่างเอกสารที่กดอนุมัติ

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชี

กรณีที่ 2: กรณีที่ยังไม่ได้รับชำระเงิน และมีการรับชำระเงินในภายหลัง

ยังไม่ได้รับชำระเงิน

การออกใบกำกับภาษีขาย ให้กด ปิด ออกใบกำกับภาษี เพื่อรับรู้เป็นภาษีขายรอเรียกเก็บ

กดปุ่ม ยังไม่ชำระเงิน (ตั้งหนี้ไว้ก่อน)

กรอบการรับชำระเงินจะปิดการแสดงผล กดอนุมัติใบรับเงินมัดจำ

ตัวอย่างเอกสารที่กดอนุมัติ

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชี (ตั้งหนี้)

การรับชำระเงินใบรับเงินมัดจำ

หน้าข้อมูลใบรับเงินมัดจำ ให้กดคลิกที่แถบสถานะข้อมูลการชำระ

กดปุ่มรับชำระ

ระบุวันที่รับชำระเงิน, ข้อมูลการรับชำระเงิน เมื่อระบุเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่ม รับชำระเงิน

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชีการรับชำระเงิน

การออกใบกำกับภาษีขาย

หน้าข้อมูลใบรับเงินมัดจำ ที่เส้น Timeline ใบกำกับภาษี ให้กด + ออกใบกำกัยภาษี

ระบุวันที่ออก และกดปุ่มอนุมัติใบกำกับภาษีขาย

ขั้นตอนที่ 3: สร้างใบแจ้งหนี้ หรือใบเสร็จรับเงินส่วนที่เหลือ

สามารถเลือกออกเอกสารใบแจ้งหนี้เพื่อเรียกเก็บยอดชำระส่วนที่เหลือ หรือออกเป็นใบเสร็จรับเงินเพื่อรับชำระเงินส่วนที่เหลือโดยไม่ต้องสร้างใบแจ้งหนี้ได้

สร้างใบแจ้งหนี้เพื่อเรียกเก็บยอดที่เหลือ

ขั้นตอนที่ 1: ไปเมนูรายรับ > ใบเสนอราคา > ยอมรับแล้ว

ขั้นตอนที่ 2: เลือกใบเสนอราคาที่ต้องการอ้างอิงไปออกใบแจ้งหนี้

  • คอลัมน์คำสั่ง กดปุ่ม สร้างใบแจ้งหนี้

ขั้นตอนที่ 3: หน้าสร้างใบแจ้งหนี้ ให้ระบุข้อมูลต่าง ๆ เช่น วันที่ออกเอกสาร, วันที่ครบกำหนด, การออกใบกำกับภาษี เป็นต้น

ให้กดปุ่ม + เลือกเงินมัดจำ

จะมี Pop-Up ขึ้นมา เพื่อเลือกใบรับเงินมัดจำขึ้นมาหักเงินมัดจำ

หมายเหตุ

  • สามารถกดเลือกใบมัดจำมาตัดชำระได้หลายใบ เลือกได้สูงสุดไม่เกิน 10 ใบ

  • สถานะใบรับเงินมัดจำที่นำมาหักได้ จะต้องอยู่ในสถานะ "รอหักมัดจำ"

  • เอกสารใบรับมัดจำที่สามารถนำมาตัดได้ วันที่ออกเอกสารจะต้องมีการระบุก่อนหรือวันที่เดียวกันกับใบแจ้งหนี้เท่านั้น

    • ตัวอย่างเช่น

      ใบแจ้งหนี้ออกวันที่ 10/06/2024 ใบรับมัดจำจะต้องระบุวันที่ก่อนวันที่ 10/06/2024 หรือวันที่ 10/06/2024 หากใบรับมัดจำระบุวันที่ 11/06/2024 เป็นต้นไป จะไม่สามารถนำมาตัดได้

  • ใบมัดจำที่นำมาตัดชำระสามารถแก้ไขยอดที่นำมาตัดชำระได้

  • ยอดที่แก้ไขสามารถแก้ไขมูลค่าภาษี ของยอดเงินมัดจำที่นำมาตัดได้


เมื่อเลือกรายการใบรับเงินมัดจำเรียบร้อยแล้ว

  • เงินมัดจำ จะแสดงเอกสาร และยอดเงินมัดจำที่นำมาหัก

  • สรปุข้อมูล แสดงยอดหลังหักเงินมัดจำ และยอดส่วนที่เหลือที่เรียกเก็บจากลูกค้า

หลังจากที่ตรวจสอบเอกสารข้อมูลเรียบร้อยแล้ว กดปุ่ม อนุมัติใบแจ้งหนี้

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชีของเอกสารใบแจ้งหนี้

ขั้นตอนที่ 4: เมื่อได้รับชำระเงินจากลูกค้า ที่หน้าเอกสารใบแจ้งหนี้ กดคลิกที่แถบข้อมูลการชำระ

กดปุ่ม รับชำระ

ระบุวันที่, ข้อมูลการรับชำระเงิน และกดปุ่มรับชำระเงิน

ขั้นตอนที่ 5: กดปุ่ม ออกใบเสร็จ

หน้าสร้างใบเสร็จรับเงิน ให้ระบุวันที่ออกเอกสาร และข้อมูลการออกใบกำกับภาษี เมื่อระบุเรียบร้อยแล้วกดปุ่ม อนุมัติใบเสร็จรับเงิน

สร้างใบเสร็จรับเงินเพื่อรับชำระยอดที่เหลือ โดยไม่ออกใบแจ้งหนี้

ขั้นตอนที่ 1: ไปเมนูรายรับ > ใบเสนอราคา > ยอมรับแล้ว

ขั้นตอนที่ 2: เลือกใบเสนอราคาที่ต้องการอ้างอิงไปออกใบเสร็จรับเงิน

  • คอลัมน์คำสั่ง กดคลิกเครื่องหมาย Dropdown ปุ่มสร้างใบแจ้งหนี้ เลือก สร้างใบเสร็จรับเงิน

ขั้นตอนที่ 3: หน้าสร้างใบเสร็จรับเงิน เพื่อระบุข้อมูลเงินมัดจำ

  • ให้ระบุข้อมูลต่าง ๆ เช่น วันที่ออกเอกสาร, ประเภทการออกใบกำกับภาษี เป็นต้น

ข้อมูลเงินมัดจำ: ให้กดปุ่ม + เลือกเงินมัดจำ

จะมี Pop-Up ขึ้นมา เพื่อเลือกใบรับเงินมัดจำขึ้นมาหักเงินมัดจำ

หมายเหตุ

  • สามารถกดเลือกใบมัดจำมาตัดชำระได้หลายใบ เลือกได้สูงสุดไม่เกิน 10 ใบ

  • สถานะใบรับเงินมัดจำที่นำมาหักได้ จะต้องอยู่ในสถานะ "รอหักมัดจำ"

  • เอกสารใบรับมัดจำที่สามารถนำมาตัดได้ วันที่ออกเอกสารจะต้องมีการระบุก่อนหรือวันที่เดียวกันกับใบแจ้งหนี้เท่านั้น

    • ตัวอย่างเช่น

      ใบแจ้งหนี้ออกวันที่ 10/06/2024 ใบรับมัดจำจะต้องระบุวันที่ก่อนวันที่ 10/06/2024 หรือวันที่ 10/06/2024 หากใบรับมัดจำระบุวันที่ 11/06/2024 เป็นต้นไป จะไม่สามารถนำมาตัดได้

  • ใบมัดจำที่นำมาตัดชำระสามารถแก้ไขยอดที่นำมาตัดชำระได้ ยอดที่แก้ไขวสามารถแก้ไขมูลค่าภาษี ของยอดเงินมัดจำที่นำมาตัดได้

เมื่อเลือกรายการใบรับเงินมัดจำเรียบร้อยแล้ว

  • เงินมัดจำ จะแสดงเอกสาร และยอดเงินมัดจำที่นำมาหัก

  • สรปุข้อมูล แสดงยอดหลังหักเงินมัดจำ และยอดส่วนที่เหลือที่เรียกเก็บจากลูกค้า

ขั้นตอนที่ 4: หน้าสร้างใบเสร็จรับเงิน เพื่อระบุการรับชำระเงินหลังหักเงินมัดจำ

ข้อมูลการรับชำระเงิน ระบุวันที่ และข้อมูลการรับชำระเงินที่ได้รับจากลูกค้า

หลังจากที่ตรวจสอบเอกสารข้อมูลเรียบร้อยแล้ว กดปุ่ม อนุมัติใบเสร็จรับเงิน

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชี

- จบขั้นตอนการบันทึกใบรับเงินมัดจำ -

คู่มืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกใบรับเงินมัดจำ

Did this answer your question?