การรับเงินมัดจำ คืออะไร คลิกอ่านที่นี่
การรับเงินมัดจำ คืออะไร คลิกอ่านที่นี่
การรับเงินมัดจำ คือ การรับชำระเงินบางส่วนหนึ่งของราคาหรือมูลค่าของสินค้าหรือบริการ ซึ่งเงื่อนไขการรับชำระถือเป็นข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อเป็นการยืนยันการทำธุรกรรมหรือการซื้อขายในอนาคต
หมายเหตุ: ฟีเจอร์ใบรับเงินมัดจำอยู่ในแพ็กเกจ Trial (ทดลองใช้งาน), PRO Plus, Accountant, Enterprise และไม่รองรับการใช้งานบน Old PEAK
บันทึกรับเงินมัดจำ มีทั้งหมด 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1: สร้างใบเสนอราคา เพื่อใช้คุมยอดรวมของการขายครั้งนี้ทั้งหมด
ขั้นตอนที่ 2: สร้างใบรับเงินมัดจำ เพื่อบันทึกรับเงิน หรือแจ้งเก็บเงินมัดจำ
ขั้นตอนที่ 3: สร้างใบแจ้งหนี้ หรือใบเสร็จรับเงิน ส่วนที่เหลือ เพื่อบันทึกรับเงิน พร้อมบันทึกรายได้
ขั้นตอนที่ 1: สร้างใบเสนอราคา
ไปที่เมนู รายรับ > ใบเสนอราคา > กดปุ่ม + สร้าง
กรอกรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลลูกค้า, วันที่ออกเอกสาร, ข้อมูลสินค้า/บริการ ที่ขายสินค้า/บริการ เป็นต้น
สามารถเพิ่มข้อความในส่วนหมายเหตุสำหรับผู้ขาย กด "ย่อ/ขยาย" จากนั้นเพิ่มข้อมูลเงื่อนไขการชำระเงินในช่อง "หมายเหตุสำหรับลูกค้า" และกด “อนุมัติใบเสนอราคา”
ขั้นตอนที่ 2: สร้างและการรับชำระเงินใบรับเงินมัดจำ
1. การสร้างใบรับเงินมัดจำ
สามารถออกได้ 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1: การสร้างใบรับเงินมัดจำ โดยไม่อ้างอิงใบเสนอราคา
กรณีที่ 1: การสร้างใบรับเงินมัดจำ โดยไม่อ้างอิงใบเสนอราคา
1. ไปที่เมนูรายรับ > ใบรับเงินมัดจำ > กดปุ่ม + สร้าง
2. กรอกรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลลูกค้า, วันที่ออกเอกสาร, ข้อมูลสินค้า/บริการ ที่ขายสินค้า/บริการ เป็นต้น
เมื่อระบุข้อมูลเรียบร้อยแล้ว คลิกที่นี่ เพื่อดูขั้นตอนข้อมูลการรับชำระเงิน
กรณีที่ 2: การสร้างใบรับเงินมัดจำ โดยอ้างอิงใบเสนอราคา
กรณีที่ 2: การสร้างใบรับเงินมัดจำ โดยอ้างอิงใบเสนอราคา
1. ไปเมนูรายรับ > ใบเสนอราคา > ยอมรับแล้ว
2. เลือกใบเสนอราคาที่ต้องการอ้างอิงไปออกใบรับเงินแบบมัดจำ
คอลัมน์คำสั่ง กดคลิกเครื่องหมาย Dropdown ปุ่มสร้างใบแจ้งหนี้ เลือก สร้างใบรับเงินมัดจำ
3. หน้าสร้างใบรับเงินมัดจำ ให้ระบุวันที่ออกเอกสาร, วันที่ครบกำหนด มี 2 กรณี
2. การรับชำระเงินใบรับเงินมัดจำ
สามารถออกได้ 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 2: กรณีที่ยังไม่ได้รับชำระเงิน และมีการรับชำระเงินในภายหลัง
กรณีที่ 2: กรณีที่ยังไม่ได้รับชำระเงิน และมีการรับชำระเงินในภายหลัง
การรับชำระเงินใบรับเงินมัดจำ
การรับชำระเงินใบรับเงินมัดจำ
หน้าข้อมูลใบรับเงินมัดจำ ให้กดคลิกที่แถบสถานะข้อมูลการชำระ
กดปุ่มรับชำระ
ระบุวันที่รับชำระเงิน, ข้อมูลการรับชำระเงิน เมื่อระบุเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่ม รับชำระเงิน
ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชีการรับชำระเงิน
การออกใบกำกับภาษีขาย
หน้าข้อมูลใบรับเงินมัดจำ ที่เส้น Timeline ใบกำกับภาษี ให้กด + ออกใบกำกัยภาษี
ระบุวันที่ออก และกดปุ่มอนุมัติใบกำกับภาษีขาย
ขั้นตอนที่ 3: สร้างใบแจ้งหนี้ หรือใบเสร็จรับเงินส่วนที่เหลือ
สามารถเลือกออกเอกสารใบแจ้งหนี้เพื่อเรียกเก็บยอดชำระส่วนที่เหลือ หรือออกเป็นใบเสร็จรับเงินเพื่อรับชำระเงินส่วนที่เหลือโดยไม่ต้องสร้างใบแจ้งหนี้ได้
สร้างใบแจ้งหนี้เพื่อเรียกเก็บยอดที่เหลือ
สร้างใบแจ้งหนี้เพื่อเรียกเก็บยอดที่เหลือ
ขั้นตอนที่ 1: ไปเมนูรายรับ > ใบเสนอราคา > ยอมรับแล้ว
ขั้นตอนที่ 2: เลือกใบเสนอราคาที่ต้องการอ้างอิงไปออกใบแจ้งหนี้
คอลัมน์คำสั่ง กดปุ่ม สร้างใบแจ้งหนี้
ขั้นตอนที่ 3: หน้าสร้างใบแจ้งหนี้ ให้ระบุข้อมูลต่าง ๆ เช่น วันที่ออกเอกสาร, วันที่ครบกำหนด, การออกใบกำกับภาษี เป็นต้น
ให้กดปุ่ม + เลือกเงินมัดจำ
จะมี Pop-Up ขึ้นมา เพื่อเลือกใบรับเงินมัดจำขึ้นมาหักเงินมัดจำ
หมายเหตุ
สามารถกดเลือกใบมัดจำมาตัดชำระได้หลายใบ เลือกได้สูงสุดไม่เกิน 10 ใบ
สถานะใบรับเงินมัดจำที่นำมาหักได้ จะต้องอยู่ในสถานะ "รอหักมัดจำ"
เอกสารใบรับมัดจำที่สามารถนำมาตัดได้ วันที่ออกเอกสารจะต้องมีการระบุก่อนหรือวันที่เดียวกันกับใบแจ้งหนี้เท่านั้น
ตัวอย่างเช่น
ใบแจ้งหนี้ออกวันที่ 10/06/2024 ใบรับมัดจำจะต้องระบุวันที่ก่อนวันที่ 10/06/2024 หรือวันที่ 10/06/2024 หากใบรับมัดจำระบุวันที่ 11/06/2024 เป็นต้นไป จะไม่สามารถนำมาตัดได้
ใบมัดจำที่นำมาตัดชำระสามารถแก้ไขยอดที่นำมาตัดชำระได้
ยอดที่แก้ไขสามารถแก้ไขมูลค่าภาษี ของยอดเงินมัดจำที่นำมาตัดได้
เมื่อเลือกรายการใบรับเงินมัดจำเรียบร้อยแล้ว
เงินมัดจำ จะแสดงเอกสาร และยอดเงินมัดจำที่นำมาหัก
สรปุข้อมูล แสดงยอดหลังหักเงินมัดจำ และยอดส่วนที่เหลือที่เรียกเก็บจากลูกค้า
หลังจากที่ตรวจสอบเอกสารข้อมูลเรียบร้อยแล้ว กดปุ่ม อนุมัติใบแจ้งหนี้
ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชีของเอกสารใบแจ้งหนี้
ขั้นตอนที่ 4: เมื่อได้รับชำระเงินจากลูกค้า ที่หน้าเอกสารใบแจ้งหนี้ กดคลิกที่แถบข้อมูลการชำระ
กดปุ่ม รับชำระ
ระบุวันที่, ข้อมูลการรับชำระเงิน และกดปุ่มรับชำระเงิน
ขั้นตอนที่ 5: กดปุ่ม ออกใบเสร็จ
หน้าสร้างใบเสร็จรับเงิน ให้ระบุวันที่ออกเอกสาร และข้อมูลการออกใบกำกับภาษี เมื่อระบุเรียบร้อยแล้วกดปุ่ม อนุมัติใบเสร็จรับเงิน
สร้างใบเสร็จรับเงินเพื่อรับชำระยอดที่เหลือ โดยไม่ออกใบแจ้งหนี้
สร้างใบเสร็จรับเงินเพื่อรับชำระยอดที่เหลือ โดยไม่ออกใบแจ้งหนี้
ขั้นตอนที่ 1: ไปเมนูรายรับ > ใบเสนอราคา > ยอมรับแล้ว
ขั้นตอนที่ 2: เลือกใบเสนอราคาที่ต้องการอ้างอิงไปออกใบเสร็จรับเงิน
คอลัมน์คำสั่ง กดคลิกเครื่องหมาย Dropdown ปุ่มสร้างใบแจ้งหนี้ เลือก สร้างใบเสร็จรับเงิน
ขั้นตอนที่ 3: หน้าสร้างใบเสร็จรับเงิน เพื่อระบุข้อมูลเงินมัดจำ
ให้ระบุข้อมูลต่าง ๆ เช่น วันที่ออกเอกสาร, ประเภทการออกใบกำกับภาษี เป็นต้น
ข้อมูลเงินมัดจำ: ให้กดปุ่ม + เลือกเงินมัดจำ
จะมี Pop-Up ขึ้นมา เพื่อเลือกใบรับเงินมัดจำขึ้นมาหักเงินมัดจำ
หมายเหตุ
สามารถกดเลือกใบมัดจำมาตัดชำระได้หลายใบ เลือกได้สูงสุดไม่เกิน 10 ใบ
สถานะใบรับเงินมัดจำที่นำมาหักได้ จะต้องอยู่ในสถานะ "รอหักมัดจำ"
เอกสารใบรับมัดจำที่สามารถนำมาตัดได้ วันที่ออกเอกสารจะต้องมีการระบุก่อนหรือวันที่เดียวกันกับใบแจ้งหนี้เท่านั้น
ตัวอย่างเช่น
ใบแจ้งหนี้ออกวันที่ 10/06/2024 ใบรับมัดจำจะต้องระบุวันที่ก่อนวันที่ 10/06/2024 หรือวันที่ 10/06/2024 หากใบรับมัดจำระบุวันที่ 11/06/2024 เป็นต้นไป จะไม่สามารถนำมาตัดได้
ใบมัดจำที่นำมาตัดชำระสามารถแก้ไขยอดที่นำมาตัดชำระได้ ยอดที่แก้ไขวสามารถแก้ไขมูลค่าภาษี ของยอดเงินมัดจำที่นำมาตัดได้
เมื่อเลือกรายการใบรับเงินมัดจำเรียบร้อยแล้ว
เงินมัดจำ จะแสดงเอกสาร และยอดเงินมัดจำที่นำมาหัก
สรปุข้อมูล แสดงยอดหลังหักเงินมัดจำ และยอดส่วนที่เหลือที่เรียกเก็บจากลูกค้า
ขั้นตอนที่ 4: หน้าสร้างใบเสร็จรับเงิน เพื่อระบุการรับชำระเงินหลังหักเงินมัดจำ
ข้อมูลการรับชำระเงิน ระบุวันที่ และข้อมูลการรับชำระเงินที่ได้รับจากลูกค้า
หลังจากที่ตรวจสอบเอกสารข้อมูลเรียบร้อยแล้ว กดปุ่ม อนุมัติใบเสร็จรับเงิน
ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชี
- จบขั้นตอนการบันทึกใบรับเงินมัดจำ -
คู่มืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกใบรับเงินมัดจำ