Skip to main content
All Collectionsคู่มือการใช้งานบนเมนูรายจ่ายบันทึกรายจ่าย
วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ (AA038)
วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ (AA038)
Racha Soracha avatar
Written by Racha Soracha
Updated over 2 months ago

หนี้สูญคืออะไร คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

หนี้สูญ หมายถึง ลูกหนี้ที่ได้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว แต่ไม่ได้รับชำระหนี้และได้ตัดจำหน่ายออกจากบัญชี

การจัดการหนี้สูญเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความมั่นคงทางการเงินขององค์กร เพื่อให้การจัดการการเงินมีความแม่นยำและช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเผชิญกับหนี้ที่ไม่สามารถชำระคืนได้

สามารถดูวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ ตามขั้นตอนด้านล่าง

ต้องการดูวิธีการบันทึกบัญชีที่สมุดบัญชีรายวันโดยตรง คลิกที่นี่

ขั้นตอนที่ 1 การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ

วิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญสามารถทำได้ 3 วิธีได้แก่

(1) วิธีอัตราร้อยละของยอดขายเชื่อสุทธิ

(2) วิธีอัตราร้อยละของลูกหนี้ที่ค้างชำระจำแนกตามอายุของลูกหนี้

(3) วิธีพิจารณาลูกหนี้เป็นแต่ละราย โดยกิจการต้องรับรู้จำนวนหนี้สงสัยจะสูญเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน

ตัวอย่าง การบันทึกบัญชีการตั้งหนี้สงสัยจะสูญ

บริษัทได้ทำการประมาณการความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้การค้า โดยใช้หลักวิธีอัตราร้อยละของลูกหนี้ที่ค้างชำระจำแนกตามอายุของลูกหนี้ (สามารถใช้วิธีอื่นได้ตามความเหมาะสมของกิจการ) ได้จำนวนหนี้สงสัยจะสูญเป็นมูลค่า 10,000,000 บาท

เนื่องจากการประมาณการหนี้สงสัยจะสูญไม่สามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ ตอนจัดทำกระดาษทำการในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องนำหนี้สงสัยจะสูญมาบวกกลับในกำไรทางบัญชี ก่อนคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้

  • กำไรทางบัญชี 20,000,000 บาท

  • (บวก) หนี้สงสัยจะสูญ 10,000,000 บาท

  • กำไรทางภาษี 30,000,000 บาท

ขั้นตอนที่ 2 การตัดจำหน่ายหนี้สูญ

การตัดจำหน่ายหนี้สูญ หากลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้เมื่อครบกำหนดแล้ว และกิจการได้มีการดำเนินการทวงถามหนี้จากลูกหนี้จนถึงที่สุดแล้ว และคาดหมายได้ค่อนข้างแน่นอนว่าจะไม่ได้รับชำระหนี้ ให้กิจการจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชี และปรับลดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

ตัวอย่าง การบันทึกบัญชีการตัดจำหน่ายหนี้สูญ

2.1 การบันทึกบัญชีการตัดจำหน่ายหนี้สูญ (เป็นรายจ่ายทางภาษี)

ในกรณีดำเนินการ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534)

2.1.1 กรณีตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญไว้

จากข้อมูลข้างต้น บริษัททำการตั้งหนี้สงสัยจะสูญเป็นมูลค่า 10,000,000 บาทไว้แล้ว ตามตัวอย่าง การบันทึกบัญชีการตั้งหนี้สงสัยจะสูญ และคาดหมายว่าจะมีลูกหนี้รายหนึ่งไม่สามารถชำระคืนได้อย่างแน่นอนเป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท บริษัทสามารถตัดจำหน่ายหนี้สูญได้ทันที

ตัวอย่าง การบันทึกบัญชีการตัดจำหน่ายหนี้สูญ

และกลับรายการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

สามารถใช้สิทธิการตัดหนี้สูญโดยนำมาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ในปีนั้น (หากได้ปฏิบัติตามเกณฑ์ทางภาษี) โดยหักออกจากกำไรทางบัญชีก่อนคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้

  • กำไรทางบัญชี 5,000,000 บาท

  • (หัก) ตัดจำหน่ายหนี้สูญ 1,000,000 บาท

  • กำไรทางภาษี 4,000,000 บาท

2.1.2 กรณีไม่ตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ

กรณีไม่ตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญไว้ บริษัทสามารถตัดจำหน่ายหนี้สูญได้ทันที

ตัวอย่าง การบันทึกบัญชีการตัดจำหน่ายหนี้สูญ

ตัดจำหน่ายหนี้สูญกรณีนี้จะไม่มีผลต่างระหว่างบัญชีกับภาษีอากร (หากเป็นรอบบัญชีเดียวกัน)

2.2 การบันทึกบัญชีการตัดจำหน่ายหนี้สูญ (ไม่เป็นรายจ่ายทางภาษี)

การบันทึกบัญชีการตัดจำหน่ายหนี้สูญในกรณีไม่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534) (ไม่เป็นรายจ่ายทางภาษี)

2.2.1 กรณีตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

ตัวอย่าง การบันทึกบัญชีการตัดจำหน่ายหนี้สูญ

ตัดจำหน่ายหนี้สูญกรณีนี้ จะไม่มีผลต่างระหว่างบัญชีกับภาษีอากร

2.2.2 กรณีไม่ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

กรณีไม่ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ บริษัทสามารถตัดจำหน่ายหนี้สูญได้ทันที

ตัวอย่าง การบันทึกบัญชีการตัดจำหน่ายหนี้สูญ

ไม่สามารถใช้สิทธิการตัดหนี้สูญมาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ โดยต้องบวกกลับหนี้สูญในกำไรทางบัญชีก่อนคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้

  • กำไรทางบัญชี 5,000,000 บาท

  • (บวก) ตัดจำหน่ายหนี้สูญ 1,000,000 บาท

  • กำไรทางภาษี 6,000,000 บาท

ขั้นตอนที่ 3 การบันทึกบัญชีหนี้สูญได้รับคืน

หากลูกหนี้ที่กิจการตัดจำหน่ายไปแล้วกลับมาชำระหนี้ให้แก่กิจการ ให้กิจการโอนกลับบัญชีลูกหนี้และค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (ถ้ามี) ที่เกี่ยวข้องด้วยจำนวนเงินที่ได้รับกลับคืน พร้อมบันทึกรายการรับชำระหนี้จากลูกหนี้

ตัวอย่าง การบันทึกบัญชีหนี้สูญได้รับคืน

3.1 การบันทึกบัญชีหนี้สูญได้รับคืน (เป็นรายจ่ายทางภาษี)

การบันทึกบัญชีหนี้สูญได้รับคืนในกรณีตัดจำหน่ายหนี้สูญ ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534)

3.1.1 กรณีตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

จากตัวอย่างที่ 2.1.1 ลูกหนี้ที่ได้ตัดจำหน่ายเป็นหนี้สูญไปแล้ว นำเงินมาชำระ

โดยหนี้สูญได้รับคืนนำไปแสดงในงบกำไรขาดทุนในหัวข้อรายได้อื่น จะไม่มีผลต่างระหว่างบัญชีกับภาษีอากร

3.1.2 กรณีไม่ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

จากตัวอย่างที่ 2.1.2 ลูกหนี้ที่ได้ตัดจำหน่ายเป็นหนี้สูญไปแล้ว นำเงินมาชำระ

โดยหนี้สูญได้รับคืนนำไปแสดงในงบกำไรขาดทุนในหัวข้อ รายได้อื่น จะไม่มีผลต่างระหว่างบัญชีกับภาษีอากร ประมวลรัษฎากรตามมาตรา 65 ทวิ (9) วรรคสอง หนี้สูญรายใดได้ นำมาคำนวณเป็นรายได้แล้วหากได้รับชำระในภายหลังก็มิให้นำมาคำนวณเป็นรายได้อีก

3.2 การบันทึกบัญชีหนี้สูญได้รับคืน (ไม่เป็นรายจ่ายทางภาษี)

การบันทึกบัญชีหนี้สูญได้รับคืนในกรณีตัดจำหน่ายหนี้สูญ ไม่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534)

3.2.1 กรณีตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

จากตัวอย่างที่ 2.2.1 ลูกหนี้ที่ได้ตัดจำหน่ายเป็นหนี้สูญไปแล้ว นำเงินมาชำระ

โดยหนี้สูญได้รับคืนดังกล่าว จะไม่มีผลต่างระหว่างบัญชีกับภาษีอากร

3.2.2 กรณีไม่ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

จากตัวอย่างที่ 2.2.2 ลูกหนี้ที่ได้ตัดจำหน่ายเป็นหนี้สูญไปแล้ว นำเงินมาชำระ

โดยหนี้สูญได้รับคืนนำไปแสดงในงบกำไรขาดทุนในหัวข้อรายได้อื่น พร้อมบันทึกรายการรับชำระหนี้จากลูกหนี้ แต่เนื่องจากการตัดหนี้สูญ กรณีนี้ไม่ถือเป็นรายจ่ายในทางภาษีเสมือนหนึ่งทางภาษียังมีลูกหนี้ที่บริษัทรอรับชำระอยู่ ต่อมาภายหลังได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้จึงไม่ต้องนำหนี้ที่ได้รับชำระดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด โดยหักออกจากกำไรทางบัญชีก่อนคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้

  • กำไรทางบัญชี 3,000,000 บาท

  • (หัก) หนี้สูญได้รับคืน 1,000,000 บาท

  • กำไรทางภาษี 2,000,000 บาท

- จบขั้นตอนวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ -


บทความและคู่มืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ

Did this answer your question?