Skip to main content
การดึงข้อมูลแบบ ภ.พ.30 (PT002)

Fetch data P.P.30 (PT002)

Yu Thanyarach avatar
Written by Yu Thanyarach
Updated over 2 years ago

ก่อนจะทำการสร้างแบบ ภ.พ.30 จะต้องทำการต้องดึงข้อมูลภาษีขาย และภาษีซื้อที่ทำการสร้างที่ PEAK มาก่อน โดยขั้นตอนการดึงข้อมูลมีดังนี้

ขั้นตอนการดึงภาษีขาย

ขั้นตอนที่ 1: ไปที่เมนูภาษีมูลค่าเพิ่ม เลือก " รายการภาษีขาย " จากนั้นเลือก " ดึงข้อมูล "

ขั้นตอนที่ 2: จะมี Pop-Up ขึ้นมา ให้ระบุวันที่ของภาษีขายที่ต้องการข้อมูล

รายการภาษีขาย ได้แก่ ใบกำกับภาษีทั้งหมด ประกอบด้วย ใบแจ้งหนี้, ใบเสร็จรับเงิน, ใบกำกับภาษีแบบแยกที่อ้างอิงข้อมูลจากใบแจ้งหนี้ หรือใบเสร็จรับเงิน, ใบลดหนี้, ใบเพิ่มหนี้ ที่เป็น ใบกำกับภาษี โดยจะดูจากวันที่ออกของใบกำกับภาษี

เมื่อระบุช่วงวันที่เรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่มดึงข้อมูล

หมายเหตุ:

  1. ช่อง ยกเว้นเอกสารที่เคยยื่นภาษีแล้ว ถ้ามีการติ๊กถูก ระบบจะไม่ทำการดึงข้อมูลใบกำกับภาษีขายที่เคยมีการยื่นแบบ ภ.พ.30 ที่ PEAK เก่ามาแสดงผล

  2. การดึงข้อมูล ถ้าเอกสารนั้นเคยดึงข้อมูลมาแล้วระบบจะไม่ดึงข้อมูลมาให้ซ้ำ

    ยกเว้นกรณีที่ ทำการดึงข้อมูลมาแล้วกดลบเอกสาร ระบบจะทำการดึงข้อมูลมาให้ใหม่อีกครั้ง

    ยกตัวอย่าง ใบกำกับภาษีขายเลขที่ 001

    ทำการกดลบใบกำกับภาษีขายเลขที่ 001 บน PEAK Tax

    ทำให้ใบกำกับภาษีขายเลขที่ 001 อยู่ในถังขยะ

    เมื่อกดดึงข้อมูลมาใหม่ ระบบจะทำการดึงใบกำกับภาษีขายเลขที่ 001 มาให้

เมื่อระบบดึงข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ที่แถบสถานะทั้งหมด จะแสดงใบกำกับภาษีขายตามช่วงเวลาที่ดึงข้อมูล

ขั้นตอนการดึงภาษีซื้อ

ขั้นตอนที่ 1: ไปที่เมนูภาษีมูลค่าเพิ่ม เลือก " รายการภาษีซื้อ " จากนั้นเลือก " ดึงข้อมูล "

ขั้นตอนที่ 2: จะมี Pop-Up ขึ้นมา ให้ระบุวันที่ของภาษีซื้อที่ต้องการข้อมูล

รายการภาษีซื้อ ได้แก่ บันทึกซื้อสินค้า, บันทึกค่าใช้จ่าย, บันทึกซื้อสินทรัพย์, ใบลดหนี้ และใบเพิ่มหนี้ ทั้งหมดที่มีมูลค่าภาษีซื้อไม่เท่ากับศูนย์ และต้องลงทะเบียนใบกำกับภาษีซื้อเท่านั้น

เมื่อระบุช่วงวันที่เรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่มดึงข้อมูล

หมายเหตุ:

  1. ช่อง ยกเว้นเอกสารที่เคยยื่นภาษีแล้ว ถ้ามีการติ๊กถูก ระบบจะไม่ทำการดึงข้อมูลใบกำกับภาษีซื้อที่เคยมีการยื่นแบบ ภ.พ.30 ที่ PEAK เก่ามาแสดงผล

  2. การดึงข้อมูล ถ้าเอกสารนั้นเคยดึงข้อมูลมาแล้วระบบจะไม่ดึงข้อมูลมาให้ซ้ำ

    ยกเว้นกรณีที่ ทำการดึงข้อมูลมาแล้วกดลบเอกสาร ระบบจะทำการดึงข้อมูลมาให้ใหม่อีกครั้ง

    ยกตัวอย่าง ใบกำกับภาษีซื้อเลขที่ 001

    ทำการกดลบใบกำกับภาษีซื้อเลขที่ 001 บน PEAK Tax

    ทำให้ใบกำกับภาษีซื้อเลขที่ 001 อยู่ในถังขยะ

    เมื่อกดดึงข้อมูลมาใหม่ ระบบจะทำการดึงใบกำกับภาษีซื้อเลขที่ 001 มาให้

เมื่อระบบดึงข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ที่แถบสถานะทั้งหมด จะแสดงใบกำกับภาษีซื้อตามช่วงเวลาที่ดึงข้อมูล

- จบขั้นตอนวิธีการดึงข้อมูลแบบ ภ.พ.30 -

Did this answer your question?