ฟังก์ชันการตั้งค่าเมนูสินค้า/บริการ คืออะไร อ่านได้ที่นี่
ฟังก์ชันการตั้งค่าเมนูสินค้า/บริการ คืออะไร อ่านได้ที่นี่
ฟังก์ชันการตั้งค่าเมนูสินค้า/บริการ คือ ฟังก์ชันสำหรับตั้งค่า นโยบายในการคำนวณต้นทุนสินค้าของกิจการ และนโยบายการเปิดใช้รหัสสินค้า(SKU) ของการขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
การตั้งค่านี้จะมีผลกับเมนูสินค้า เพื่อป้องกันการสร้างสินค้าไม่ตรงตามนโยบายของกิจการ
การตั้งค่าเมนูสินค้า/บริการ แบ่งเป็น 2 หัวข้อ ดังนี้
หัวข้อที่ 1 : การตั้งค่านโยบายการคำนวณต้นทุนขาย
หัวข้อที่ 1 : การตั้งค่านโยบายการคำนวณต้นทุนขาย
ขั้นตอนที่ 1: ไปที่เมนูตั้งค่า > ตั้งค่านโยบายบัญชี > เมนูสินค้า/บริการ
ขั้นตอนที่ 2: กดแก้ไข
การตั้งค่าเมนูสินค้า/บริการ สามารถตั้งค่าได้ 2 ส่วน คือ
ตั้งค่าเกี่ยวกับการคำนวณต้นทุนสินค้า
สามารถตั้งค่าได้ 2 ส่วน คือ
ค่าเริ่มต้นให้ระบบคำนวณต้นทุนเมื่อขาย : สามารถตั้งค่าได้ว่าสินค้าที่สร้างใหม่ต้องการให้คำนวณต้นทุนขายหรือไม่ หากไม่ต้องการให้คำนวณ "สามารถกดไม่กดคำนวณได้"
การแก้ไขปุ่มคำนวณต้นทุนเมื่อขาย : เป็นการกำหนดกรณีที่มีการสร้างสินค้าขึ้นมาใหม่ต้องการให้ผู้ใช้งานแก้ไขเปิด/ปิด การคำนวณต้นทุนขายของสินค้านั้นๆได้หรือไม่ หากไม่ต้องการให้แก้ไขสามารถกดห้ามแก้ไขได้
ซึ่งการตั้งค่าการคำนวณต้นทุนขายนี้จะมีผลเมื่อผู้ใช้งานมีการสร้างสินค้าใหม่และการนำเข้าสินค้า โดยการสร้างสินค้าใหม่ในโปรแกรมสามารถดูเรื่องต้นทุนขายได้ที่ขั้นสูง และการนำเข้าสินค้าสามารถดูต้นทุนขายที่คอลัมน์ L
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ
สำหรับกิจการที่มีการบันทึกบัญชีแบบสิ้นงวด (Periodic) สามารถตั้งค่าการบันทึกบัญชีได้ โดยการตั้งค่าวิธีการคำนวณต้นทุนขายนี้หากมีการเลือกแบบ Periodic แม้ว่าสินค้าที่สร้างนั้นจะมีการเปิดการคำนวณต้นทุนขายก็ตาม สุดท้ายแล้วระบบจะไม่บันทึกต้นทุนขายให้ตามที่มีการตั้งค่า
ข้อควรทราบในการตั้งค่าวิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ
1. เมื่อมีการตั้งค่าวิธีการคำนวณต้นทุนของกิจการเป็นแบบ Periodic หน้าเคลื่อนไหวสินค้าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ผู้ใช้งานสามารถดูรายงานซื้อขายย้อนหลังได้ตามปกติ
2. เมื่อมีการตั้งค่าวิธีการคำนวณต้นทุนของกิจการเป็นแบบ Periodic ต่อมาต้องการเปลี่ยนการบันทึกเป็นแบบ Perpetual โดยตอนสร้างรหัสสินค้านั้นได้มีการเปิดคำนวณต้นทุนขาย ระบบจะทำการค้นหาสินค้าในอดีตว่ามีสินค้าตัวใดบ้างที่มีการเปิดคำนวณต้นทุนขายและจะทำการคำนวณและบันทึกต้นทุนขายให้อัตโนมัติ
3.หากไม่ต้องการให้ระบบย้อนไปบันทึกต้นทุนขายในอดีต สามารถแก้ไขได้โดยเข้าไปล็อกข้อมูลการใช้งานได้ที่ตั้งค่านโยบายบัญชี ตัวอย่างวิธีการล็อก/ปลดล็อกข้อมูลการใช้งาน
หัวข้อที่ 2 : การตั้งค่ารหัสสินค้า กรณีขายผ่านแพลตฟอร์ม
หัวข้อที่ 2 : การตั้งค่ารหัสสินค้า กรณีขายผ่านแพลตฟอร์ม
การเปิดใช้งานรหัสสินค้า (SKU) เหมาะสำหรับกิจการที่มีการควบคุมสินค้าในโปรแกรม PEAK และใน Shopee/Lazada/TikTok Shop และ ZWIZ โดยใช้รหัสสินค้าที่แตกต่างกัน
โดยการเปิดใช้งานรหัสสินค้า (SKU) สามารถเพิ่มรหัสสินค้าจาก Shopee/Lazada/TikTok Shop และ ZWIZ เบื้องต้นระบบจะปิดการใช้งานรหัสสินค้า Shopee/Lazada/TikTok Shop และ ZWIZ อยู่
หากต้องการใช้งานสามารถกดปุ่ม เพิ่ม/แก้ไขรหัสสินค้า จากนั้นกดเปิดช่องทางที่ต้องการได้เลย จากนั้นกดยืนยัน
คลิกที่นี้เพื่อเปิดดูการแสดงผล SKU
คลิกที่นี้เพื่อเปิดดูการแสดงผล SKU
การเปิดใช้งานรหัส SKU นี้จะมีผลแสดงที่เมนูสินค้า ตรงรายละเอียดแต่ละสินค้าระบบจะแสดงรหัสสินค้าของ Shopee/Lazada/TikTok Shop และ ZWIZ ให้
กรณีที่สร้างสินค้าขึ้นมาใหม่ ผู้ใช้งานสามารถระบุรหัสสินค้า Shopee/Lazada/TikTok Shop และ ZWIZ ได้ที่ขั้นสูงเช่นเดียวกัน
เมื่อมีการระบุรหัสสินค้า Shopee/Lazada/TikTok Shop และ ZWIZ เสร็จแล้ว กรณีนำเข้าไฟล์ขายจาก Shopee/Lazada/TikTok Shop และ ZWIZ ทางผู้ใช้งานสามารถระบุอ้างอิงรหัสสินค้าได้ว่าต้องการให้ระบบบันทึกสินค้าโดยอ้างอิงจากรหัสสินค้าจาก Shopee/Lazada/TikTok Shop และ ZWIZ หรือจากรหัสสินค้าในโปรแกรม โดยรหัสอ้างอิงนี้ทางผู้ใช้งานสามารถดูรหัสที่ต้องการอ้างอิงได้จากไฟล์ที่นำเข้า
เมื่อตั้งค่าครบทั้ง 2 หัวข้อสำเร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถกดปุ่ม "บันทึก" เพื่อบันทึกข้อมูลการตั้งค่า
- จบขั้นตอนการตั้งค่าเมนูสินค้า/บริการ -
คู่มืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งค่าเมนูสินค้า/บริการ