Skip to main content
All Collectionsอื่น ๆ การประยุกต์การใช้งาน
ธุรกิจนายหน้าประกันภัย (AA036)
ธุรกิจนายหน้าประกันภัย (AA036)

Insurance brokerage business

Updated over 8 months ago

ธุรกิจนายหน้าประกันภัย คืออะไร คลิกอ่านที่นี่

ธุรกิจนายหน้าประกันภัย คือ นายหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อประกันภัย กับบริษัทประกันภัย โดยมีรายได้ในรูปแบบของค่าคอมมิชชันที่ทางนายหน้าจะได้รับจากบริษัทประกันภัย

ผู้ประกอบการและนักบัญชี สามารถใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยจัดการงานเอกสารและบัญชีสำหรับธุรกิจนายหน้าประกันภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กรณีที่ 1: บริษัทได้รับค่าคอมมิชชันจากบริษัทประกันภัยโดยตรง

จะประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 บุคคล

หากกิจการจด VAT จะต้องต้องใบกำกับภาษีขายตามข้อกฎหมาย : มาตรา 70/1(10) และมาตรา 72/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร


ไปที่เมนู รายรับ > ใบเสร็จรับเงิน > กดปุ่ม + สร้าง

กรอกรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลลูกค้า, วันที่ออกเอกสาร, อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม, หัก ณ ที่จ่าย เป็นต้น

  • ข้อมูลบัญชี จะระบุผังรายได้จากการให้บริการ เพื่อรับรู้เป็นรายได้ของกิจการ

  • ระบุวันที่, ข้อมูลการรับชำระเงิน เมื่อระบุข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่มอนุมัติใบเสร็จรับเงิน

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชีของใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี

กรณีที่ 2: บริษัทหักยอดค่าคอมมิชชันจากค่าเบี้ยประกันภัยที่ลูกค้าจ่ายชำระเงิน

จะประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 บุคคล

ขั้นตอนที่ 1: การเตรียมผังบัญชี

ขั้นตอนที่ 2: การออกใบเสนอราคา และใบแจ้งหนี้ เพื่อเรียกเก็บเงินค่าเบี้ยประกันจากลูกค้า

ขั้นตอนที่ 3: การบันทึกค่าใช้จ่ายเบี้ยประกันภัย สำหรับการนำเงินที่ได้รับจากลูกค้าไปชำระเงิน

ขั้นตอนที่ 4: การบันทึกรายได้ เมื่อได้รับค่าคอมมิชชันจากบริษัทประกันภัย

ขั้นตอนที่ 1: เตรียมผังบัญชี

ด้วยเหตุที่ธุรกิจนายหน้าประกันภัยมีความแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป สิ่งที่เจ้าของธุรกิจ หรือนักบัญชีต้องจัดทำในขั้นตอนแรก คือ การตั้งค่าข้อมูลเริ่มต้นเพื่อให้สามารถออกเอกสาร และบันทึกบัญชีได้อย่างถูกต้อง และเพื่อให้เจ้าของธุรกิจสามารถตรวจสอบข้อมูลทางบัญชีและสถานะกำไรขาดทุนได้ง่ายและทันเวลา

ผังบัญชีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนายหน้าประกันภัย คือ ค่าเบี้ยประกันภัย และรายได้ค่าเบี้ยประกันภัย

หมายเหตุ : XXXXXX หมายถึง ผังบัญชีที่ควรมีเพิ่มเติมสำหรับธุรกิจนายหน้าประกันภัย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกิจการพิจารณาใช้ หากต้องการใช้ชื่อผังบัญชีดังกล่าว สามารถเพิ่มผังบัญชีเองได้ตามคู่มือ วิธีการเพิ่มผังบัญชี

ขั้นตอนที่ 2: การออกใบเสนอราคา และใบแจ้งหนี้ เพื่อเรียกเก็บเงินค่าเบี้ยประกันจากลูกค้า

สามารถออกได้ 2 กรณี

กรณีที่ 1: การออกใบเสนอราคา และใบแจ้งหนี้ที่อ้างอิงจากใบเสนอราคา

ไปที่เมนูรายรับ > ใบเสนอราคา > กดปุ่ม + สร้าง

กรอกรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลลูกค้า, วันที่ออกเอกสาร, อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น

  • ข้อมูลบัญชี จะระบุผังบัญชีค่าเบี้ยประกันภัย (เพิ่มผังบัญชีด้วยตนเองจากขั้นตอนที่ 1) เพื่อใช้ในการบันทึกรับเงินจากลูกค้า และจ่ายเงินให้แก่บริษัทประกันภัย

การตกลงซื้อขาย

เมื่อลูกค้ามีการตอบรับใบเสนอราคา หรือ ตกลงในการซื้อขายสินค้า/บริการ กับทางกิจการเป็นที่เรียบร้อย ให้กด “+ตอบรับแล้ว” ที่ใบเสนอราคานั้น

ระบุวันที่ลูกค้ายอมรับ และกดปุ่มยืนยัน

การสร้างใบแจ้งหนี้ที่อ้างอิงจากใบเสนอราคา ไปเมนูรายรับ > ใบเสนอราคา > ยอมรับแล้ว

เลือกใบเสนอราคาที่ต้องการอ้างอิงไปออกใบแจ้งหนี้

  • คอลัมน์คำสั่ง กดคลิกเครื่องหมาย Dropdown ปุ่มสร้างใบแจ้งหนี้

หน้าสร้างใบแจ้งหนี้ ให้ระบุข้อมูลต่าง ๆ เช่น วันที่ออกเอกสาร, วันที่ครบกำหนด เป็นต้น

  • เมื่อระบุข้อมุลเรียบร้อยแล้ว กดปุ่มอนุมัติใบแจ้งหนี้

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชีของเอกสารใบแจ้งหนี้

เมื่อลูกค้ามีการชำระเงินเข้ามา ที่หน้าใบแจ้งหนี้ฉบับนั้น ให้กดคลิกที่แถบสถานะ ข้อมูลการชำระ

กดปุ่มรับชำระเงิน


ระบุวันที่, ข้อมูลการรับชำระเงิน และกดปุ่มรับชำระเงิน

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชีของการรับชำระเงิน

กดปุ่ม ออกใบเสร็จ

หน้าสร้างใบเสร็จรับเงิน ให้ระบุวันที่ออกเอกสาร เมื่อระบุเรียบร้อยแล้วกดปุ่ม อนุมัติใบเสร็จรับเงิน

กรณีที่ 2: การออกใบแจ้งหนี้ เพื่อแจ้งหนี้แก่ลูกค้า โดยที่ไม่มีการออกใบเสนอราคา เพื่อเสนอผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้า

ไปเมนูรายรับ > ใบแจ้งหนี้ (ใบส่งของ, บันทึกลูกหนี้) > กดปุ่ม + สร้าง

กรอกรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลลูกค้า, วันที่ออกเอกสาร, อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น

  • ข้อมูลบัญชี จะระบุผังบัญชีค่าเบี้ยประกันภัย (เพิ่มผังบัญชีด้วยตนเองจากขั้นตอนที่ 1) เพื่อใช้ในการบันทึกรับเงินจากลูกค้า และจ่ายเงินให้แก่บริษัทประกันภัย

  • เมื่อระบุข้อมุลเรียบร้อยแล้ว กดปุ่มอนุมัติใบแจ้งหนี้

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชีของเอกสารใบแจ้งหนี้

เมื่อลูกค้ามีการชำระเงินเข้ามา ที่หน้าใบแจ้งหนี้ฉบับนั้น ให้กดคลิกที่แถบสถานะ ข้อมูลการชำระ

กดปุ่มรับชำระเงิน


ระบุวันที่, ข้อมูลการรับชำระเงิน และกดปุ่มรับชำระเงิน

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชีของการรับชำระเงิน

กดปุ่ม ออกใบเสร็จ

หน้าสร้างใบเสร็จรับเงิน ให้ระบุวันที่ออกเอกสาร เมื่อระบุเรียบร้อยแล้วกดปุ่ม อนุมัติใบเสร็จรับเงิน

ขั้นตอนที่ 3: การบันทึกค่าใช้จ่ายเบี้ยประกันภัย สำหรับการนำเงินที่ได้รับจากลูกค้าไปชำระเงิน

ไปที่เมนู รายจ่าย > บันทึกค่าใช้จ่าย > กดปุ่ม + สร้าง

กรอกรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลผู้ขาย, วันที่ออกเอกสาร เป็นต้น

  • ข้อมูลบัญชี จะระบุผังบัญชีค่าเบี้ยประกันภัย (เพิ่มผังบัญชีด้วยตนเองจากขั้นตอนที่ 1) เพื่อใช้ในการบันทึกรับเงินจากลูกค้า และจ่ายเงินให้แก่บริษัทประกันภัย

  • เนื่องจากจำนวนเงินที่จ่ายให้บริษัทประกันภัย จะเป็นยอดหลังหักค่าคอมมิชชัน ราคา/หน่วย ระบุหลังหักค่าคอมมิชชัน

  • ระบุข้อมูลการชำระเงินที่เรามีการชำระให้บริษัทประกันภัย เมื่อระบุข้อมุลเรียบร้อยแล้ว กดปุ่มอนุมัติบันทึกค่าใช้จ่าย

  • หากได้รับใบกำกับภาษีจากบริษัทประกันภัย สามารถดูคู่มือลงทะเบียนรับใบกำกับภาษีที่นี่

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชีของบันทึกค่าใช้จ่าย

ขั้นตอนที่ 4: การบันทึกรายได้ เมื่อได้รับค่าคอมมิชชันจากบริษัทประกันภัย

หากกิจการจด VAT จะต้องต้องใบกำกับภาษีขายตามข้อกฎหมาย : มาตรา 70/1(10) และมาตรา 72/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร


ไปที่เมนู รายรับ > ใบเสร็จรับเงิน > กดปุ่ม + สร้าง

กรอกรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลลูกค้า, วันที่ออกเอกสาร, อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม, หัก ณ ที่จ่าย เป็นต้น

  • ข้อมูลบัญชี จะระบุผังรายได้จากการให้บริการ เพื่อรับรู้เป็นรายได้ของกิจการ

  • ข้อมูลการรับชำระเงิน ให้ระบุรับชำระเงินแบบขั้นสูง เนื่องจากเราหักจากค่าเบี้ยประกันภัยที่นำส่งให้บริษัทประกันภัย

  • ติ๊กถูกช่องค่าธรรมเนียม หรือรายการปรับปรุง

    ช่องค่าธรรมเนียม

    • ปรับปรุง: ระบุหักเงินที่ต้องรับ

    • ปรับปรุงด้วยผังบัญชี: ระบุผังบัญชี ค่าเบี้ยประกันภัย ในหมวดหนี้สินที่ลงบันทึกรายการรับเงินจากลูกค้า

    • จำนวนเงินที่ปรับปรุง: ระบุจำนวนเงินที่ได้รับค่าคอมมิชชัน

  • ระบุวันที่ชำระ และข้อมูลถูกหัก ณ ที่จ่าย (ถ้ามี) เมื่อระบุเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่มอนุมัติใบเสร็จรับเงิน

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชีของใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี

- จบการบันทึกประเภทธุรกิจนายหน้าประกันภัย -

Did this answer your question?