Skip to main content
All Collectionsคู่มือการใช้งานบนเมนูรายจ่าย
การสร้างบันทึกรับสินค้า/บริการ (Goods Receipt) (เฉพาะแพ็กเกจพรีเมียม) (GR001)
การสร้างบันทึกรับสินค้า/บริการ (Goods Receipt) (เฉพาะแพ็กเกจพรีเมียม) (GR001)

Record Goods Receipt (Premium package only) (GR001)

Kul Suwiya avatar
Written by Kul Suwiya
Updated this week

การบันทึกรับสินค้า/บริการคืออะไร ?

เป็นเอกสารสำหรับการบันทึกรับสินค้า/บริการ ที่ทางกิจการสั่งซื้อไปกับทาง Supplier เพื่อตรวจสอบว่าได้รับสินค้ามาครบถ้วนเมื่อเทียบกับการจ่ายเงินค่าสินค้า/บริการนั้น ซึ่งจะสามารถนำเอกสารรับสินค้า/บริการ ไปกระทบยอดกับเอกสารรับใบแจ้งหนี้ที่ทางทีมบัญชี การเงินจัดทำขึ้นมาอีกฉบับหนึ่งได้

กิจการแบบไหนควรใช้เอกสารบันทึกรับสินค้า/บริการ

เหมาะกับกิจการที่ต้องการควบคุมภายในระหว่างทีมจัดซื้อ/ทีมดูแลสต็อก และ ทีมบัญชี/ทีมการเงิน เพื่อตรวจสอบว่ายอดที่ได้รับสินค้า/บริการ กับจำนวนเงินที่จ่ายออกไปตรงกันหรือไม่

ขั้นตอนการสร้างเอกสารบันทึกรับสินค้า/ บริการ

1. การสร้างบันทึกรับสินค้า/บริการ กดคลิกที่นี่เพื่อดูการบันทึก

เข้าสร้างที่เมนูรายจ่ายเลือกบันทึกรับสินค้า/บริการและกดสร้าง

หรือหากต้องการออกใบสั่งซื้อ (PO) ก่อนสร้างเอกสารบันทึกรับสินค้าและบริการ สามารถกดสร้างตามคู่มือนี้ได้ การสร้างใบสั่งซื้อ เมื่อสร้างใบสั่งซื้อ (PO) เรียบร้อยแล้วสามารถดึงใบสั่งซื้อมาออกเอกสารรับสินค้า/บริการ (GR) โดยกดที่ปุ่มตัวเลือกในเอกสารเลือกสร้างเอกสารรับสินค้า/บริการ

กรอกรายละเอียดในเอกสารให้ครบถ้วน

ตัวอย่างการกรอกข้อมูลเอกสาร

คำอธิบายรายละเอียดต่างๆในหน้าเอกสาร

  • ชื่อผู้ขาย : ชื่อลูกค้าที่ต้องการบันทึกในเอกสาร

  • เลขที่เอกสาร : ระบบ Run ให้อัตโนมัติแต่ทางผู้ใช้งานสามารถแก้ไขเองได้หากต้องการปรับให้เข้ากิจการวิธีการตั้งค่าเลขที่เอกสารด้วยตนเองสามารถทำตามคู่มือการตั้งค่าเลขที่เอกสาร

  • วันที่ออก : เป็นวันที่ออกเอกสาร ซึ่งระบบจะแสดงค่าเริ่มต้นเป็นวันที่ปัจจุบัน แต่ทางผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่าจะออกเอกสารวันที่เท่าไหร่ทั้งย้อนหลัง และออกในอนาคต

  • อ้างอิง : ช่องสำหรับระบุเลขที่เอกสารอ้างอิง ข้อมูลที่ใส่นี้จะแสดงบนหน้าเอกสารและรายงานในช่องอ้างอิง

  • กลุ่มจัดประเภท : กลุ่มจัดประเภทใช้ในการจัดกลุ่มเอกสาร และการบันทึกบัญชี เพื่อสร้างรายงานในมิติต่างๆตามประเภทของกลุ่ม ซึ่งจะสามารถใช้ได้สำหรับแพ็กเกจ Pro plus หากสนใจท่านสามารถศึกษาการใช้งานกลุ่มจัดประเภทได้ที่คู่มือการใช้งานฟังก์ชันกลุ่มจัดประเภท

  • ประเภทราคา : จะมีให้เลือกราคาแยกภาษี รวมภาษี และไม่มีภาษี สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของเอกสารที่ได้รับมาจากการสั่งซื้อ

  • ราคานี้เป็นค่าเงิน : เป็นช่องสำหรับระบุสกุลเงินต่างประเทศ ในกรณีที่มีการซื้อ/ขายของกับทางประเทศซึ่งจะมีอัตราแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น การระบุค่าเงินจะมีผลกับหน้าเอกสารแต่การบันทึกบัญชี การแสดงผลหน้างบ เมนูการเงิน ระบบจะแปลงเป็นเงินบาท

  • สินค้า/บริการ : สินค้าและบริการรายการที่รับเข้ามาในสต็อก

  • บัญชี : ผังบัญชีที่ต้องการให้ระบบบันทึกบัญชีให้เมื่อมีการอนุมัติเอกสาร

  • จำนวน : จำนวนหน่วยของสินค้าที่บันทึกรับเข้ามา

  • ราคา/หน่วย : ราคาต่อหน่วยของสินค้า/บริการที่รับเข้ามา

  • ส่วนลด/หน่วย : ส่วนลดต่อหน่วยของสินค้า/บริการที่รับเข้ามา

  • ภาษี : อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายการนั้นๆ กรุณาเลือกไม่มี สำหรับรายการที่ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือได้รับการยกเว้นภาษี VAT 0% มีไว้สำหรับธุรกิจส่งออกเท่านั้น สำหรับรายการทั่วไปที่ต้องมีภาษีมูลค่าเพิ่ม กรุณาเลือก 7%

  • หัก ณ ที่จ่าย : สามารถกำหนดเป็นจำนวนเงิน หรือ % ก็ได้ หากกำหนดเป็นจำนวนเงินสูงสุดไม่เกินมูลค่าก่อนภาษีของรายการนั้น หากกำหนดเป็น % ได้ไม่เกิน 100%

  • +เพิ่มรายการใหม่ : เพิ่มบรรทัดในการระบุข้อมูลบนเอกสาร เช่นในเอกสารมีการรับสินค้า 2 ประเภทให้กดเพิ่มรายการใหม่อีก 1 บรรทัด

  • +เพิ่มคำอธิบาย : เพิ่มบรรทัดคำอธิบายบนเอกสาร จะใช้ในกรณีที่ 1 สินค้าหรือบริการมีรายละเอียดที่ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบหลายบรรทัดให้กดเพิ่มคำอธิบายได้

  • ส่วนลดรวม : ส่วนลดรวมทั้งบิล

  • มูลค่าที่คำนวณภาษี 7% : ยอดก่อนนำไปคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% : ยอดมูลค่าที่คำนวณภาษี x VAT 7%

  • จำนวนเงินทั้งสิ้น : มูลค่าที่รวม VAT แล้ว

  • หมายเหตุสำหรับผู้ขาย : ช่องหมายเหตุสำหรับระบุข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเอกสาร

  • แนบไฟล์ในเอกสารนี้ : เป็นการแนบไฟล์รูปภาพ PDF ในเอกสารเพื่อใช้สำหรับการดูภายในกิจการเอง หรือจะส่งให้กับลูกค้าทางฟังก์ชันส่ง Email ได้เช่นกัน

  • แท็ก : เป็นการติดข้อความสั้นๆเพื่อแยกประเภทของเอกสารเช่น แท็กตามภาค แท็กตามชื่อพนักงานขาย

หากในหน้าบันทึกเอกสารไม่มีฟังก์ชันครบเหมือนในตัวอย่างเอกสาร สามารถเปิดการตั้งค่าแสดงผลของเอกสารตามคู่มือการตั้งค่าการแสดงผลข้อมูลหน้าสร้างเอกสาร

ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและกดอนุมัติเอกสาร

ปุ่มอนุมัติเอกสารจะมีให้เลือกการทำรายการทั้งหมด 4 แบบ

  1. อนุมัติบันทึกรับสินค้า/บริการ : เอกสารจะเป็นสถานะอนุมัติแล้ว และบันทึกบัญชี

  2. ส่งอนุมัติ : เอกสารจะเป็นสถานะรออนุมัติ และยังไม่มีการบันทึกบัญชี

  3. อนุมัติและสร้างใหม่ : เอกสารจะเป็นสถานะอนุมัติแล้ว และบันทึกบัญชี

  4. อนุมัติและพิมพ์ : เอกสารจะเป็นสถานะอนุมัติแล้ว บันทึกบัญชี และจะพาไปที่หน้าพิมพ์เอกสาร (Online View)

ในกรณีที่ยังไม่ต้องการอนุมัติจะทำได้ 2 แบบ

  1. บันทึกร่าง : เอกสารจะเป็นสถานะร่าง และยังไม่มีการบันทึกบัญชี

  2. ยกเลิก : เอกสารที่บันทึกไว้จะถูกยกเลิกและสามารถกู้คืนกลับมาได้

ตัวอย่างการบันทึกบัญชีของเอกสารรับสินค้า/บริการ

2. นำเอกสารรับสินค้า/บริการ ไปกระทบยอดกับเอกสารบันทึกรับใบแจ้งหนี้ (Invoice Receipt) กดคลิกที่นี่เพื่อดูการะทบยอด

ที่หน้าข้อมูลเอกสารบันทึกรับสินค้า/บริการ กดที่แถบข้อมูลเอกสารที่กระทบ > เลือกเอกสารบันทึกรับใบแจ้งหนี้ที่ต้องการนำมากระทบกัน

เงื่อนไขการทำงานของระบบกระทบยอดที่ระบบจะยอมให้จับคู่

  1. รหัสสินค้า/บริการ ตรงกันทั้งเอกสารรับสินค้า/บริการ (GR) และเอกสารรับใบแจ้งหนี้ (IR)

  2. จำนวนสินค้า/ บริการ ตรงกันทั้งเอกสารรับสินค้า/บริการ (GR) และเอกสารรับใบแจ้งหนี้ (IR)

  3. จำนวนเงิน ตรงกันทั้งเอกสารรับสินค้า/บริการ (GR) และเอกสารรับใบแจ้งหนี้ (IR)

ตัวอย่างเอกสารที่กระทบยอดสำเร็จ

ตัวอย่างเอกสารที่กระทบยอดไม่สำเร็จจะมีแจ้งเตือน " มีรายการสินค้าหรือมีราคาต่อหน่วยไม่ตรงกัน"

ตัวอย่างหน้าพิมพ์เอกสารบันทึกรับสินค้า/บริการ

- จบคู่มือการสร้างเอกสารรับสินค้า/บริการ (Goods Receipt) -

ดูคู่มืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบันทึกรับสินค้า/บริการ

Did this answer your question?