Skip to main content

วิธีการบันทึกค่าใช้จ่าย และหัก ณที่จ่าย ภ.ง.ด. 54 (NE073)

Recording PND 54 Tax Form (NE073)

Updated over a month ago

ภ.ง.ด. 54 คืออะไร

แบบแสดงรายการหัก ณ ที่จ่ายที่นิติบุคคลต้องยื่นให้แก่กรมสรรพากร เมื่อมีการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงินที่อยู่นอกประเทศไทย ตามมาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

ขั้นตอนการบันทึก ภ.ง.ด. 54 มีดังนี้

1. ไปที่เมนูรายจ่าย > บันทึกค่าใช้จ่าย > + สร้าง

2. ระบุรายละเอียดในการสร้างบันทึกค่าใช้จ่าย

หากคุณไม่เจอช่อง 'อ้างอิง', 'สกุลเงิน' และ 'หัก ณ ที่จ่าย' ให้คลิกที่นี่

กดปุ่มตั้งค่าการแสดงผล เพื่อกดเปิดแสดงผลคอลัมน์ อ้างอิง, สกุลเงิน และหัก ณ ที่จ่าย

ส่วนที่ 1

ส่วนที่ 2

  • ชื่อผู้ขาย: ระบุรหัสผู้ติดต่อที่ทำการสร้างไว้ กดที่นี่เพื่อดูคู่มือการสร้างรายชื่อผู้ติดต่อ

  • วันที่ออก: ระบุวันที่ออกเอกสารตามใบแจ้งหนี้ที่ได้รับ หรือถ้าไม่ได้รับใบแจ้งหนี้ ระบุวันที่ทำการชำระเงิน

  • วันที่ครบกำหนด: ระบุวันที่ครบกำหนดที่ได้รับจากคู่ค้า หากไม่ระบุระบบจะดึงจากหน้าตั้งค่าเอกสารวันที่ครบกำหนด และในข้อมูลรหัสผู้ติดต่อที่ตั้งค่าครบกำหนดชำระ ตามลำดับ กดที่นี่เพื่อดูคู่มือการตั้งค่าวันที่ครบกำหนดของเอกสาร

  • ที่อยู่: ระบบจะทำการดึงข้อมูลจากรหัสผู้ติดต่อ

  • เบอร์โทร: ระบบจะทำการดึงข้อมูลจากรหัสผู้ติดต่อที่ระบุในช่องทางติตต่อเบอร์โทรศัพท์

ส่วนที่ 3

  • กลุ่มจัดประเภท (สำหรับ Package Pro Plus) สามารถตั้งค่ากลุ่มจัดประเภทที่เมนูตั้งค่า > กลุ่มจัดประเภท เพื่อเปิดใช้งานตามกลุ่มจัดประเภทที่ต้องการ เลือกระบุกลุ่มจัดประเภทเมื่อมีการสร้างเอกสาร หรือหากยังไม่ระบุ สามารถแก้ไขเพื่อเลือกระบุย้อนหลังได้ กดที่นี่เพื่อดูคู่มือการใช้งานฟังก์ชันกลุ่มจัดประเภท

ส่วนที่ 4

ส่วนที่ 5

  • บัญชี/ค่าใช้จ่าย: ระบุผังบัญชีค่าใช้จ่ายที่ต้องการ

  • จำนวน: ระบุจำนวนสินค้า/บริการ

  • ราคา/หน่วย: ระบุราคา/หน่วย

  • ส่วนลดต่อหน่วย: ระบุส่วนลด/หน่วย (ถ้ามี)

  • ภาษี: ระบุภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%, 0% หรือไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามที่ต้องการ

  • หัก ณ ที่จ่าย: ระบุ % หัก ณ ที่จ่ายที่ต้องการ หรือจำนวนเงินหัก ณ ที่จ่าย (ถ้ามี) หากไม่แน่ใจสามารถเลือกยังไม่ระบุได้

เกร็ดความรู้การคำนวณ และหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.54

กรณีเงินได้ตามมาตรา 70 มีการหัก ณ ที่จ่ายแตกต่างตามประเภทรายได้ คือ

  • เงินได้ตามมาตรา 40 (2) - 40 (6) ยกเว้น มาตรา 40 (4) ประเภทเงินปันผล หักภาษี ณ ที่จ่าย 15

  • เงินได้ตามมาตรา 40 (4) ประเภทเงินปันผล หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%

กรณีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ คือ

  • อัตราภาษีร้อยละ10 ของจำนวนเงินที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทย

หมายเหตุ: อัตราหัก ณ ที่จ่ายจะต้องพิจารณาการจ่ายด้วย ว่ามีการจ่ายเงินไปประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทยหรือไม่

ส่วนที่ 6

  • สรุปข้อมูล: จะแสดงยอดก่อนภาษี, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ยอดรวมสุทธิ และหัก ณ ที่จ่าย เพื่อให้ตรวจสอบข้อมูล

ส่วนที่ 7

  • วันที่ชำระ: ระบุวันที่ชำระเงิน

  • ชำระเงินโดย: ระบุช่องทางการเงินที่จ่าย

  • จำนวนเงินที่ชำระ: ระบุจำนวนเงินที่จ่าย

  • หมายเหตุ: ระบุหมายเหตุตามที่ต้องการ (ถ้ามี)

  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย: ระบบจะดึงข้อมูลอัตราภาษี และจำนวนเงินหัก ณ ที่จ่าย จากคอลัมน์หัก ณ ที่จ่ายที่ระบุในส่วนที่ 5 มาให้ แต่ถ้าไม่ได้ระบุหัก ณ ที่จ่ายในส่วนที่ 5 คุณสามารถกดติ๊กช่องภาษีหัก ณ ที่จ่าย เพื่อระบุข้อมูลตามที่ต้องการได้

  • แบบ ภ.ง.ด. ให้ทำการระบุเป็น ภ.ง.ด. 54

หากคุณไม่สามารถเลือก ภ.ง.ด. 54 กดคลิกที่นี่เพื่อตรวจสอบ

ให้เข้าไปที่รหัสผู้ติดต่อรหัสนั้น แล้วกดแก้ไข

ตรวจตรงประเทศว่าทำการระบุประเทศอื่น และที่อยู่จดทะเบียน ช่องประเทศ ระบุเป็น ต่างประเทศหรือไม่

ส่วนที่ 8

ส่วนที่ 9

  • เป็นการกดบันทึกเอกสาร โดยมีการบันทึกเอกสารทั้งหมด 3 รูปแบบดังนี้

อนุมัติบันทึกค่าใช้จ่าย

มีให้เลือก 4 รูปแบบ

  1. อนุมัติบันทึกค่าใช้จ่าย: อนุมัติบันทึกค่าใช้จ่าย

  2. อนุมัติและพิมพ์: อนุมัติบันทึกค่าใช้จ่าย และเปิดหน้าพิมพ์บันทึกค่าใช้จ่าย

  3. อนุมัติและสร้างใหม่: อนุมัติบันทึกค่าใช้จ่าย และเปิดสร้างบันทึกค่าใช้จ่ายฉบับใหม่

  4. ส่งอนุมัติ: กดส่งไปให้ผู้ใช้งานท่านอื่นอนุมัติเอกสาร

บันทึกร่าง

มีให้เลือก 2 รูปแบบ

  1. บันทึกร่าง: บันทึกร่างเอกสาร

  2. บันทึกร่าง และสร้างใหม่: บันทึกร่างเอกสาร และเปิดหน้าพิมพ์บันทึกค่าใช้จ่าย

ยกเลิก

ยกเลิก คือ ยกเลิกการทำรายการ

ตัวอย่างการบันทึกบัญชี (กรณีไม่ได้ตั้งหนี้)

- จบขั้นตอนวิธีการบันทึกค่าใช้จ่าย และหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 54 -

ดูคู่มืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการบันทึกค่าใช้จ่าย และหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 54

Did this answer your question?